DSpace Repository

การรับฟังข้อเท็จจริงจากการไกล่เกลี่ยและการรักษาความลับอันเกิดจากการไกล่เกลี่ย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข
dc.contributor.author ภูริณัฐ อุนจะนำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T05:54:48Z
dc.date.available 2023-08-04T05:54:48Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82384
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในประเด็นเรื่องการรักษาความลับอันเกิดจากการไกล่เกลี่ย ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องหน้าที่ในการรักษาความลับของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย การรับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐาน และความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยอันเนื่องมาจากการไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับ โดยพบว่าพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้หน้าที่ในการรักษาความลับเป็นหน้าที่โดยเคร่งครัด โดยกำหนดเฉพาะกรณีที่พิสูจน์ได้ถึงความบกพร่องที่เกิดขึ้นระหว่างการไกล่เกลี่ย ศาลจึงมีคำสั่งไม่บังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้ ผู้วิจัยเห็นความไม่ชัดเจนว่าหากเป็นกรณีอื่น ๆ จะได้รับการยกเว้นหน้าที่ในการรักษาความลับหรือไม่ และกรณีไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับจนเกิดความเสียหายแล้ว จะกำหนดความรับผิดอย่างไร เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายในต่างประเทศแล้ว พบว่าข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยย่อมเป็นความลับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่กระทบต่อสิทธิของฝ่ายเจ้าของข้อเท็จจริง หรือ “without prejudice” เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น เพื่อป้องกันภยันตรายแก่สาธารณะ เป็นต้น หรือเป็นกรณีบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท โดยข้อยกเว้นดังกล่าวส่งผลให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐานได้ โดยการพิจารณาว่ารับฟังข้อเท็จจริงจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐาน พิจารณาจากความจำเป็นในการรับฟังเปรียบเทียบกับคุณค่าของการรักษาความลับว่าสมควรให้คุณค่ากับสิ่งใดมากกว่ากัน หากความจำเป็นในการรับฟังมีมากกว่า ย่อมเป็นเหตุยกเว้นข้อห้ามมิให้รับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งในส่วนดังกล่าวกฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดข้อยกเว้นข้อห้ามมิให้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นพยานหลักฐาน เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับกรณีจำเป็นอื่น ๆ ได้ และยังไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยจะต้องรับผิดในความเสียหาย อันเนื่องมาจากการไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับ หากเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงควรให้บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งส่วนท้ายผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study the confidentiality during the mediation. The study includes the duty to maintain the confidentiality of each party relating to the mediation, admit facts based on mediation as the probable evidence and calculate liability of each party failing to maintain the confidentiality. The Dispute Mediation Act, B.E. 2562 (2019) prescribes the duty for each party to strictly maintain the confidentiality. In case of proving any liability of one party during the mediation, the court can impose the obligation not to abide with the dispute resolution for both parties. The researcher personally found the ambiguity regarding the legal imposition. The inquiries include whether or not the same rule will apply with cases conducting outside the court, and if one party fails to maintain the confidentiality causing the damage, which jurisprudence should one apply to calculate liabilities. Comparing to acts in foreign countries, facts obtained during mediation are considered to be confidential that each party is obliged to maintain their confidentiality and not to expose some facts that will affect the right of the evidence owner or being known as “without prejudice”, except from being state otherwise by the laws. For example, the mentioned jurisprudence can be omitted in order to prevent the public from serious harm or to act in accord with agreed dispute resolution. Those exceptions allow the court to admit facts derived from the mediation as the evidence by comparing the necessity and the benefit from maintaining the confidentiality. If the necessity is prioritized, the jurisprudence of admitting facts from the meditation will be omitted. In this part, the legislation of Thailand has not specified an exception the prohibition against hearing evidence for other necessary cases, and have no any law required people involved mediation to be liable due to failure to maintain confidentiality, they should be liable for any damage occurred from their acts. In the conclusion, the researcher suggests the content to amend the Dispute Mediation ACT, B.E. 2562 (2019) to be more up-to-dated. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.659
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Administrative and support service activities
dc.subject.classification Political science and civics
dc.title การรับฟังข้อเท็จจริงจากการไกล่เกลี่ยและการรักษาความลับอันเกิดจากการไกล่เกลี่ย
dc.title.alternative Admissible evidence from mediation and confidentiality protection from mediation
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.659


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record