dc.contributor.advisor |
อรพินท์ โคมิน |
|
dc.contributor.author |
ปัทมาภรณ์ พุ่มเกาะ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T06:01:26Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T06:01:26Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82444 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากและผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูที่กลับมาติดตามอาการในช่วง 3 เดือน ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสิ้น 86 ราย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับการตรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ทำการสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ร่วมกับการเก็บข้อมูลในเวชระเบียนของผู้ป่วย ใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายลักษณะของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสเปียร์แมนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สภาวะสุขภาพช่องปากประเมินจากจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ จำนวนคู่สบฟันหลังและคะแนนแบบประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากและฟันเทียมฉบับดัดแปลง ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะประเมินจากการเปลี่ยนแปลงของคะแนนค่าความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ผลการวิจัยพบว่าจำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่และจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองพบความสัมพันธ์เป็นแบบสหสัมพันธ์เชิงลบ สรุปผลการวิจัย จำนวนฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่และจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์กับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยพบความสัมพันธ์มีทิศทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยที่มีจำนวนฟันธรรมชาติและจำนวนคู่สบฟันหลังที่มากสัมพันธ์กับค่าความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองตอนผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลที่มีค่าความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจึงมีอาการเริ่มต้นไม่รุนแรงส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคน้อยกว่า การดูแลสภาวะสุขภาพช่องปากให้อยู่ในสภาพดีและการเก็บรักษาฟันธรรมชาติสภาพดีไว้ให้ได้มากที่สุดอาจจะเป็นปัจจัยร่วมปัจจัยหนึ่งในการลดความเสี่ยงความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this thesis to determine the association between oral health status and functional recovery outcomes in post-stroke patients at King Chulalongkorn memorial hospital. 86 participants are stroke patients who appointed for follow up 3 months. Patients consisted of interviewed for sociodemographic data and orally examined by counting number of natural teeth and posterior occluding pairs and using Modified-Revised Oral Assessment Guide (modified-ROAG). The data about stroke were recorded in medical chart. Functional recovery outcomes was assessed by using the changes of National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS 3-0) between 3 months. Descriptive statistics was used to describe the characteristics of patients. Pearson and Spearman correlation test at P-value < 0.05 were performed. From the results, the number of natural teeth and posterior occluding pairs were found to be statistically significant associated with the changes of NIHSS. An inverse correlation was observed. According to the patients who had a greater number of natural teeth and posterior occluding, their NIHSS would be less. Therefore, they had minor changes of NIHSS between 3 months. We concluded that maintaining oral health status and natural teeth in good conditions could be one of the contributing factors that relates to the lower stroke severity (assessed by NIHSS) when stroke happens. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.579 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากและผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง |
|
dc.title.alternative |
The association between oral health status and functional recovery outcomes in post-stroke patients |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมประดิษฐ์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.579 |
|