Abstract:
ที่มาและความสำคัญ ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองที่เกิดจากภาวะสมองบาดเจ็บ ถือเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางด้านความจำ พฤติกรรม และทางสังคม โดยกีฬามวยไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกีฬาการต่อสู้ที่แพร่หลายมากที่สุด สามารถทำให้เกิดภาวะสมองบาดเจ็บชนิดเรื้อรังที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และอาจส่งผลต่อภาวะดังกล่าว
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิ และฮอร์โมนต่อมใต้สมองชนิดอื่นๆ ในอดีตนักมวยไทย
รูปแบบการศึกษา การศึกษานี้เป็นแบบชนิด Cross-sectional descriptive study
วิธีการศึกษา อดีตนักมวยไทย จำนวน 48 คน อายุเฉลี่ย 58.31 ± 6.58 ปี ได้รับการตรวจวัดระดับฮอร์โมนจากต่อม ใต้สมองส่วนหน้า ได้แก่ prolactin, thyroid hormone, morning cortisol, sex hormones และ IGF-I ร่วมกับระดับ fasting plasma glucose, lipid profile, serum creatitine และทำการทดสอบ Glucagon stimulation test (GST) เพื่อประเมิน GH-IGF-I และ hypothalamic-pituitary-adrenal (HPA) axis และทำการทดสอบ 250 mcg ACTH stimulation test เพื่อยืนยันภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิ และใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต อาการพร่องฮอร์โมน เพศชาย อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอาการซึมเศร้า
ผลการศึกษา: พบความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองในอดีตนักมวย 22 คน (45.83%) ความชุกของ ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิ (ชนิดเดียว) เท่ากับ 4% (2 คน) ทั้ง 2 คน มีจำนวนครั้งที่แพ้น็อคสูงกว่าค่ามัธย ฐานของจำนวนครั้งที่แพ้น็อคในกลุ่มอดีตนักมวยที่มีระดับฮอร์โมนปกติ อดีตนักมวยไทย 16 คน มีระดับ GH หลังจากการทดสอบ GST ต่ำกว่าค่าปกติ และพบมีอดีตนักมวยไทย 4 คน มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ร่วมกับมีระดับ GH หลังจากการ ทดสอบ GST ต่ำกว่าค่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างอดีตนักมวยที่มีระดับฮอร์โมนผิดปกติปกติและปกติ พบว่า กลุ่ม อดีตนักมวยที่ระดับฮอร์โมนผิดปกติมีระดับคุณภาพชีวิตจาก WHO BREF QOL psychosocial ต่ำกว่ากลุ่มฮอร์โมนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.025) และมีภาวะ metabolic syndrome จำนวนมากกว่าแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (54.5% และ 30.8%; p = 0.09) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับคะแนน WHO QOL BREF ด้านอื่นๆและคะแนนรวม คะแนนจากแบบสอบถาม PHQ-9, AMS, IIEF และ ADAM scores เทียบระหว่างกลุ่มฮอร์โมนผิดปกติและฮอร์โมนปกติ
สรุปผลการศึกษา: พบความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตแบบทุติยภูมิในอดีตนักมวยไทยเท่ากับ 4.2% จำนวนครั้งที่แพ้น็อคและระดับคุณภาพชีวิตที่ต่ำอาจใช้ทำนายความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าวได้ การศึกษานี้ได้ค้นพบภาวะฮอร์โมนพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองในอดีตนักมวยไทย แสดงถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองในอดีตนักมวยไทย โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะ metabolic syndrome และผู้ที่มีระดับคุณภาพชีวิตต่ำ