Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของกลุ่มประสบการณ์รังแกและการใช้รูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกของกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-15 ปี) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 376 คน โดยใช้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, The revised Olweus bully/victim questionnaire และ แบบวัดการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น (Adolescent Coping Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มทั้งผู้รังแกและถูกรังแกร้อยละ 39.89,กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องร้อยละ 30.59, กลุ่มผู้ถูกรังแกมีร้อยละ 23.67 และกลุ่มผู้รังแกร้อยละ 5.85 ทั้ง 4 กลุ่มมีรูปแบบการเผชิญปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องมีคะแนนรูปแบบเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่สุด, ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้แหล่งสนับสนุนอื่นๆและด้านหลีกเลี่ยงปัญหา กลุ่มผู้ถูกรังแกมีคะแนนรูปแบบการเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่
รูปแบบการเผชิญปัญหาเป็นวิธีที่จะใช้จัดการกับความเครียดแต่ละคนมีรูปแบบที่เหมือนหรือต่างกัน อย่างไรก็ตามฐานข้อมูลเรื่องรูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกในไทยและต่างประเทศยังมีไม่มากและการศึกษาที่ผ่านมายังพบข้อสรุปที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกัน