DSpace Repository

การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์
dc.contributor.author กชพร ธัญญานุรักษา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:08:02Z
dc.date.available 2023-08-04T06:08:02Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82480
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำนำมาสู่ปัญหาอื่นๆทางสังคม รวมถึงปัญหาทางสุขภาพจิตของคนได้โดยง่าย ในปัจจุบัน เฟสบุ๊ค เป็นสื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกและในประเทศไทย ผู้วิจัยสนใจศึกษาในกลุ่มคน Generation Y ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้และเข้าถึงเฟสบุ๊คมากที่สุด ทั้งนี้จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยตระหนักถึงปัญหานี้ว่าเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญ ควรได้การดูแลแก้ไข และสนับสนุนการป้องกันกลุ่มเสี่ยงนี้ จึงเกิดหัวข้อวิจัยนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนและเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในสังคมภายหน้า การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้สถานที่ในการเก็บข้อมูลเป็นสถานีรถไฟฟ้าซึ่งเป็นที่นิยมของคน Generation Y และมีคนใช้มากที่สุด 5 สถานี ได้แก่ สยาม อโศก หมอชิต อนุสาวรีย์ และศาลาแดง โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จำนวน 285 คน โดยเป็นผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จนถึง พ.ศ. 2539 (ณ ปัจจุบัน มีอายุตั้งแต่ 22 ถึง 38 ปี) เป็นผู้ที่ใช้บริการเฟสบุ๊คในปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสำรวจพฤติกรรมการใช้, แบบสอบถาม Bergen Facebook addiction scale ฉบับภาษาไทย (Thai-BFAS) และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองในตนเองของ Rosenberg ฉบับปรับปรุง (Revised Thai RSES) วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละและความถี่ เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการศึกษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 285 คน ผู้ที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับปานกลาง ร้อยละ 56.1  รองลงมาร้อยละ 32.3 มีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับสูง และมีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับต่ำ ร้อยละ 11.6 ตามลำดับ และพบผู้ที่ติดเฟสบุ๊ค ร้อยละ 17.5 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ วัตถุประสงค์การใช้ตามกระแสนิยม ระยะเวลาในการใช้ (ต่อครั้ง) ความถี่ในการโพสต์รูป/ข้อความของตัวเองลงในเฟสบุ๊ค รวมไปถึงปัจจัยด้านการติดเฟสบุ๊ค จากที่กล่าวมาข้างต้น การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำนั้นถือเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่ควรได้รับการส่งเสริม แก้ไข และสังเกตพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะติดเฟสบุ๊ค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพฤติกรรมการใช้งานเฟสบุ๊ค เพื่อป้องกัน และลดอัตรา การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำของคน Generation Y  ในกรุงเทพมหานคร
dc.description.abstractalternative Nowadays, one of the most influential things in our life is Social Media especially Facebook and the top user of Facebook in Thailand is Generation Y. Although Facebook is very useful and convenience but in the other hand it can cause many negative effects and one of them is low self-esteem. However, Self-esteem and Facebook usage behavior in Generation Y has not been studied much in Thailand. This research aimed to study about self-esteem and Facebook usage behavior and to determine self-esteem and its relationship with Facebook usage behavior among generation Y in Bangkok This research is a cross-sectional descriptive study. The subjects were 285 participants, 22-38 years old in Bangkok, randomly selected. The research instruments consisted of questionnaires regarding demographic information, Facebook usage behavior information, Bergen Facebook Addiction Scale (Thai-BFAS) and Rosenberg Self-Esteem Scale (Revised Thai RSES). The results were presented in frequency and percentage for the demographic information, Facebook usage behavior information, Facebook Addiction Scale and Self-Esteem Scale in generation Y in Bangkok and other factors related to self-esteem will be analyzed by chi-squared test, correlation and linear regression analysis. Among this 285 subjects, there were high level of self-esteem (32.3%) and low level of self-esteem (11.6%), respectively. 17.5% of subjects were addicted to Facebook. The statistically significance associated factors with self-esteem were age, education, income, objective for using Facebook (trend), time spent on Facebook, frequency to post or comment on Facebook and Facebook addiction which is also associated to self-esteem in a negative relationship. Consequently, low self-esteem in generation Y was associated with Facebook usage behavior. Therefore, reducing low level of self-esteem should beware and protect people from risk factors and be considered for the mental health campaign to balance self-esteem.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1417
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Human health and social work activities
dc.title การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative Self-esteem and Facebook usage behavior of generation Y in Bangkok
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สุขภาพจิต
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1417


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record