dc.contributor.advisor |
โอภาส พุทธเจริญ |
|
dc.contributor.author |
ลัดดารัตน์ ศรีคำ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T06:08:12Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T06:08:12Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82508 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไขมันตับหลังจากเปลี่ยนยาจากเอฟาเวียเรนซ์เป็นริลพิวิรีน ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเอฟาเวียเรนซ์ร่วมกับยาต้านไวรัสกลุ่ม NRTI อีก 2 ชนิด เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยาเอฟาเวียเรนซ์เดิมต่อ
วิธีการวิจัย: การศึกษาแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม สุ่มอาสาสมัครเป็นอัตรา 1:1 เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีอายุตั้งแต่ 18 ปี และรับยาต้านไวรัสเอฟาเวียเรนซ์ร่วมกับทีโนโฟเวียร์/เอ็มตริไซตาบีน หรืออะแบ็กคาเวียร์/ลามิวูดีน และเป็นโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ แล้วเปลี่ยนยาจากเอฟาเวียเรนซ์เป็นริลพิวิรีน หรือยังให้เอฟาเวียเรนซ์เดิมต่อ โดยก่อนเข้าร่วมวิจัยต้องมีค่าไขมันตับวัดด้วยวิธี CAP มากกว่า 248 เดซิเบล/เมตร ขึ้นไป
ผลการศึกษา: อาสาสมัครเข้าร่วมทั้งหมด 30 คน และ 17 คน ถูกสุ่มเข้ากลุ่มเปลี่ยนยาเป็นริลพิวิรีน พบค่ามัธยฐานของความต่างของค่าไขมันตับระหว่างเวลาตั้งต้นและสัปดาห์ที่ 24 ลดลง -20 เดซิเบล/เมตร ในผู้ป่วยกลุ่มเปลี่ยนยา RPV และลดลง -2 เดซิเบล/เมตร ในผู้ป่วยกลุ่มใช้ยาเดิม EFV โดยกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มเปลี่ยนยา RPV มีการลดลงของความต่างของค่าไขมันตับมากกว่า แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = .202)
สรุป: การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าหลังสัปดาห์ที่ 24 ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ที่ได้รับการเปลี่ยนยาต้านไวรัสจากเอฟาเวียเรนซ์เป็นริลพิวิรีน เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเป็นเอฟาเวียเรนซ์เดิม ไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณไขมันตับ ผลการศึกษาเช่นนี้ อาจเกิดจากขนาดตัวอย่างน้อยกว่าเป้าหมายและต้องการศึกษาขนาดใหญ่มากขึ้น |
|
dc.description.abstractalternative |
Objective: To compare the change in degree of steatosis after switching from efavirenz (EFV) to RPV in patients receiving EFV plus 2 nucleoside analogues versus continuing with the current therapy.
Method: In a randomized controlled trial, randomly assigned in 1:1 ratio, HIV-infected participants more than 18 years of age who was on EFV plus tenofovir/emtricitabine or abacavir/lamivudine with NAFLD to switch from EFV to RPV while maintaining nucleoside analogues, or to continue with EFV plus 2 nucleoside analogues. At baseline, eligible patients must show CAP values more than 248 dB/m.
Results: A total of thirty patients were included and 17 of them were randomized to switch to RPV. The median difference in CAP values between baseline and week 24 was decrease -20 dB/m for patients in the RPV group and decrease -2 dB/m among individuals in the EFV group. There was no statistically significant (P = .202).
Conclusion In this study, after 24 weeks the replacement of EFV by RPV in patient with non-alcoholic fatty liver disease may have not reduction in the grade of hepatic steatosis. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1155 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.subject.classification |
Human health and social work activities |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
ผลของการเปลี่ยนยาจากเอฟาเวียเรนซ์เป็นริลพิวิรีนต่อภาวะตับคั่งไขมันในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม |
|
dc.title.alternative |
Effect after switching from efavirenz to rilpivirine on liver steatosis among people living with HIV with non-alcoholic fatty liver disease: a randomized controlled trial |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.1155 |
|