Abstract:
ที่มา: การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) ในปัจจุบันเป็นการรักษาที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นทางเลือกแทนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาผลลัพธ์ของอัตราความสำเร็จจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน และผลลัพธ์ทางคลินิกในการศึกษาตามกลุ่มประชากรในประเทศไทย
วัตถุประสงค์: เพื่ออัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจเทียมและผลลัพธ์ทางคลินิก และค่าใช้จ่ายของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยท่ได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจเทียมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2553 ถึงมิถุนายน 2565 โดยศึกษาอัตราความของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนการเสียชีวิตภายในระยะเวลา 30 วัน การอยู่โรงพยาบาลมากกว่า 30 วัน หรือกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน
ผลลัพธ์: ผู้เข้าร่วม 180 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงร้อยละ 54.4 อายุเฉลี่ย 81±8 ปี คะแนนมัธยฐานของสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอก (STS 7.2 ± 4.2 มีผู้เข้าร่วม 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.4 ที่ประสบความสำเร็จจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่ายทางสายสวนโดยพบ 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.6 ในลิ้นหัวใจ Core valve 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.5 ในลิ้นหัวใจ Edwards Valve และ 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.2 ในลิ้นหัวใจ Hydra valve ตามลำดับ
ที่ 30 วัน มีผู้เสียชีวิต 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.8 เสียชีวิตภายใน 30 วัน หรือการนอนโรงพยาบาลนานกว่า 30 วัน หรือการส่งกลับโรงพยาบาลภายใน 30 วัน อยู่ที่ 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.4 ความดันเลือดผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Mean Aortic Valve Gradient) ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 43.5±14.6 เป็น 7.5±4.3 มิลลิเมตรปรอท ค่าเฉลี่ยของพื้นที่ลิ้นหัวใจภายหลังการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ Effective orifice area index (EOAi) คือ 1.2 ± 0.4 ตารางเซินติเมตรโดยไม่มีความแตกต่างกันระหว่างลิ้นหัวใจทั้ง 3 ชนิด
ในการวิเคราะห์ตัวแปรเดียว อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญไม่แตกต่างกันระหว่าง 3 ชนิด ได้แก่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดระหว่างทำหัตถการ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6 โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน / TIA 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.8 รายคิดเป็น ภาวะไตเฉียบพลัน (AKI) 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.2
ค่าใช้จ่ายของของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจ Hydra valve ต่ำกว่าลิ้นหัวใจชนิดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ 414,814±306,328 บาทในลิ้น the Hydra valve 951,435±558,578 บาทในลิ้น core valve, 990,578±479,647 บาทในลิ้น Edward valve
สรุป อุบัติการณ์ของอัตราความสำเร็จของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนคือ 84.4% การเสียชีวิตภายใน 30 วัน การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า 30 วัน หรือการกลับมานอนโรงพยาบาลภายใน 30 วัน อยู่ที่ร้อยละ 7.4 และ อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญไม่แตกต่างกันระหว่าง 3 ชนิด