Abstract:
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาตัวทำนายอิสระใดที่มีผลในการทำนายการเกิดชักและนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการทำนายของการเกิดการชักในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมอง เพริออดิกดิสชาร์ต (Periodic Discharges)
วิธีการวิจัย: การศึกษานี้ได้รวบรวมผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-2565 และรวบรวมข้อมูลอื่นๆ เช่น เพศ, โรคประจำตัว, Metabolic Derangement, ภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สมองมารวมกับข้อมูลของคลื่นไฟฟ้าสมอง และนำปัจจัยเหล่านั้นมาวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกและใส่ค่า β-coefficients หลังจากนั้นแบ่งประเภทระดับความเสี่ยงของการเกิดชักและประเมินความเที่ยงตรงภายในด้วยวิธี Bootstrap รายงานประสิทธิภาพด้วยค่า Discrimination และ Calibration
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 107 คนได้ถูกนำไปวิเคราะห์แบบ Multivariate analysis พบ 4 ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการเกิดชักโดยแบ่งออกเป็นปัจจัยป้องกันการชัก ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว/โรคหลอดเลือดหัวใจ [ORadj 0.144 (95% CI 0.029, 0.704)], โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ขึ้นไป [ORadj 0.144 (95% CI 0.029, 0.704)] และปัจจัยที่ทำให้ชักมากขึ้น ได้แก่ คลื่นไฟฟ้าสมองเพริออดิกดิสชาร์ตที่มีความชุกแบบ Continuous [ORadj 5.037 (95% CI 1.116, 22.732)] และคลื่นไฟฟ้าสมองที่มีลักษณะ Burst Suppression [ORadj 8.66 (95% CI 0.937, 80.060)] ตัวแปรดังกล่าวได้ถูกนำมาแปลงเป็นคะแนนและแบ่งกลุ่มความเสี่ยงในการเกิดชัก
สรุปการศึกษา: การศึกษาของเราได้สร้างรูปแบบการทำนายการเกิดชักในผู้ป่วยเพอริออดิกดิสชาร์ตเพื่อช่วยเหลือแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีทรัพยากรจำกัด