DSpace Repository

สมดุลงานและชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
dc.contributor.advisor เจตน์ รัตนจีนะ
dc.contributor.author นิชา วงศ์คีรีพิบูลย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:08:31Z
dc.date.available 2023-08-04T06:08:31Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82539
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมดุลงานและชีวิต รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในช่วงการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานบริษัทโทรคมนาคมเป้าหมาย จำนวน 600 คน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ให้กับพนักงาน ทำการศึกษาระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2565 แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยด้านการทำงานที่บ้าน และแบบประเมินสมดุลงานและชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างตัวแปรสองตัว และ การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า คะแนนสมดุลงานและชีวิตคิดเป็นร้อยละค่าเฉลี่ยเท่ากับ 69.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.2) เมื่อควบคุมตัวกวนด้วยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับสมดุลงานและชีวิตต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย เพศหญิง (OR=2.22, 95% CI 1.17-4.22) การมีบุตรเป็นเด็กเล็ก (OR=2.61, 95% CI 1.10-6.19) ภาระงานมาก (OR=5.41, 95% CI 2.62-11.15) ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับสมดุลงานและชีวิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับครอบครัวแน่นแฟ้น (OR=0.39, 95% CI 0.19-0.81) การพักผ่อนเพียงพอ (OR=0.07, 95% CI 0.01-0.36) การสนับสนุนจากองค์กรมาก (OR=0.43, 95% CI 0.21-0.87) ความพึงพอใจในงานมาก (OR=0.42, 95% CI 0.21-0.83) การเปลี่ยนแปลงเวลาเริ่มและเลิกงานได้มาก (OR=0.23, 95% CI 0.10-0.53) ดังนั้นองค์กรควรกำหนดนโยบายและมาตรการตามปัจจัยดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งเสริมสมดุลงานและชีวิตที่ดีให้กับพนักงานที่มีการทำงานที่บ้าน
dc.description.abstractalternative This research is a cross-sectional descriptive study to study the level of work-life balance and its associated factors during work from home among telecommunication company employees in a northern province, Thailand. This study was conducted by collecting the data via an online questionnaire among all 600 employees. The questionnaires consist of personal demographic variables, work and work from home related variables, as well as work-life balance assessment form. Data were analyzed by descriptive and analytical statistics including bivariate analysis and multiple logistic regression. The results showed that the work-life balance score was a mean percentage of 69.2 (14.2 SD). Up on adjustment for confounders by multiple logistic regression, factors significantly associated with ‘low’ work-life balance were female (OR=2.22, 95% CI 1.17-4.22), having a young child (OR=2.61, 95% CI 1.10-6.19) and having heavy workload (OR=5.41, 95% CI 2.62-11.15). In contrast, factors significantly associated with ‘high’ work-life balance were having a good relationship with the family (OR=0.39, 95% CI 0.19-0.81), getting adequate rest (OR=0.07, 95% CI 0.01-0.36), having strong organizational support (OR=0.43, 95% CI 0.21-0.87), high job satisfaction (OR=0.42, 95% CI 0.21-0.83) and flexible working hours (OR=0.23, 95% CI 0.10-0.53). Consequently, organizations should set policies and measures based on such factors to promote a good work-life balance for employees who work from home.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.513
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Human health and social work activities
dc.subject.classification Medicine
dc.title สมดุลงานและชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ประเทศไทย
dc.title.alternative Work-life balance and associated factors while work from home among telecommunication company employees in Northern Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.513


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record