DSpace Repository

การศึกษาทดสอบความถูกต้องของปัจจัยที่ใช้พยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพในคนไทยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor รณพิชัย โชคสุวัฒนสกุล
dc.contributor.author อภิชัย มาสุขใจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:08:44Z
dc.date.available 2023-08-04T06:08:44Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82555
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract ที่มาและความสำคัญ: ในประเทศไทยผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติโดยส่วนใหญ่ยังคงได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ โดยค่าของ Time in therapeutic range (TTR) เป็นค่าที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้ยาวาร์ฟาริน  ได้มีการพัฒนาคะแนน ACAChE ขึ้นมาเพื่อใช้ในการพยากรณ์ค่า TTR ที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามคะแนน ACAChE ยังไม่ได้มีการศึกษาทดสอบความถูกต้องภายนอกในกลุ่มประชากร วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อทดสอบความถูกต้องในการใช้คะแนน ACAChE ในการพยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ (ค่า TTR น้อยกว่าร้อยละ 65) ในกลุ่มการศึกษาที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติ ศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ และเปรียบเทียบกับคะแนน SAMe-TT2R2 ระเบียบวิธีวิจัย: ทำการศึกษาแบบทบทวนย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวบรวมผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินในช่วงเวลา 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 โดยใช้วิธี Rosendaal เพื่อหาค่า TTR ของผู้ป่วย และ ใช้ค่า TTR ที่น้อยกว่าร้อยละ 65 เพื่อบ่งบอกถึงการใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ใช้การวิเคราะห์ตัวแปรตาม ด้วย logistic regression analysis และใช้เส้นโค้ง ROC (Receiver Operating Characteristic) และพื้นที่ใต้กราฟ ROC เพื่อวัดประสิทธิภาพของคะแนน ผลการวิจัย: ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากสิ้นหัวใจผิดปกติที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินในงานวิจัยทั้งหมด 381 คน มีอายุเฉลี่ย 75.7 + 12.02 ปี เป็นเพศชาย 197 คน (ร้อยละ 51.7) มีค่า TTR เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 53.9 + 27.4 และมีผู้ป่วย 245 ราย (ร้อยละ 64.3) ที่มีค่า TTR น้อยกว่าร้อยละ 65 จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ พบว่า ประวัติการมีภาวะหัวใจล้มเหลว เบาหวาน การใช้ยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับยาวาร์ฟาริน โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวการณ์ทำงานของตับบกพร่อง และภาวะไตเสื่อมเรื้อรังที่มีค่าการทำงานของไต (GFR) น้อยกว่า 50 m/min/1.73m2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยประสิทธิภาพของคะแนน ACAChE ในการพยากรณ์โดยใช้เส้นโค้ง ROC พบว่า คะแนน ACAChE มีพื้นที่ใต้กราฟ ROC เท่ากับ 0.59 (ร้อยละ 95 ช่วงความเชื่อมั่น 0.54 - 0.63) และคะแนน SAMe-TT2R2 มีพื้นที่ได้กราฟ ROC เท่ากับ 0.50 (ร้อยละ 95 ช่วงความเชื่อมั่น 0.46 -0.54) โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย: คะแนน ACAChE สามารถพยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ (ค่า TTR น้อยกว่าร้อยละ 65) ได้ดีกว่าคะแนน SAMe-TT2R2 ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติ ดังนั้นการใช้คะแนน ACAChE น่าจะมีประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจทางคลินิกในการเลือกใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
dc.description.abstractalternative Background: Many patients with nonvalvular atrial fibrillation (NVAF) still use warfarin to prevent thromboembolic complications in Thailand. The ACAChE score has been developed for the prediction of poor control in time in therapeutic range (TTR) in Thai patients with NVAF patients. Moreover, the ACAChE score has yet to be validated in the external cohort for general application in the population. Objectives: To validate the ACAChE score for prediction of poor anticoagulant control in warfarin (time in therapeutic range < 65%) in a retrospective cohort study of King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) and to investigate factors that determine poor INR control. Methods: A retrospective cohort study was carried out by collecting data from electronic medical records of patients with NVAF experienced warfarin treatment at KCMH from January 2018 to December 2022. The Rosendaal method was used for the TTR calculation. Univariate and multivariate analyses were done by logistic regression analysis, presented as odds ratio (OR) and 95% confidence interval (CI). The performance of the ACAChE score and the SAMe-TT2R2 score for predicting poor INR control was analyzed by the receiver-operating characteristic (ROC) curve. The C-statistic was analysed to compare the ACAChE score and the SAMe-TT2R2 score. We reported the odds ratio, sensitivity, specificity, positive predictive value, and negative predictive value of the ACAChE and SAMe-TT2R2 scores. Results: 381 patients were enrolled in this study. The average age was 75.7 ± 12.01 years, and 197 (51.7%) were men. The mean TTR was 53.9 ± 27.4%, of which 243 (63.8%) patients had suboptimal anticoagulant control (TTR < 65%). Factors consistent with congestive heart failure, diabetes mellitus, antiplatelet use, coronary artery disease, hepatic impairment and chronic kidney disease are statistically significant differences between patients with optimal and suboptimal TTR by multivariate analysis. The diagnostic performance using the ROC curve to predict TTR < 65% showed that the AUC for the ACAChE score was 0.59 (95% CI, 0.54 – 0.63) and for the SAMe-TT2R2 score was 0.50 (95% CI, 0.46 – 0.54), p = 0.0017. Conclusion: The ACAChE score has better diagnostic performance for predicting TTR < 65% than the SAMe-TT2R2 score in Thai patients with NVAF who received warfarin. Despite its low AUC, the ACAChE score should be a valuable tool for making the clinical decision on selecting anticoagulants in patients with NVAF.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1037
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Human health and social work activities
dc.subject.classification Medicine
dc.title การศึกษาทดสอบความถูกต้องของปัจจัยที่ใช้พยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพในคนไทยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติ
dc.title.alternative Validation of scoring system for predicting poor anticoagulant control on warfarin in a Thai population with non-valvular atrial fibrillation (NVAF): the ACAChE score
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.1037


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record