DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู 

Show simple item record

dc.contributor.advisor จันทนา ผลประเสริฐ
dc.contributor.author พิชยุตม์ บุญญาบารมี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:08:49Z
dc.date.available 2023-08-04T06:08:49Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82560
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract ภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมเป็นภาวะที่มีการกระตุ้นของภูมิกันที่มากจนเกินไป โดยสาเหตุของภาวะนี้ได้แก่ โรคมะเร็ง, การติดเชื้อ และภาวะภูมิคุ้มกันต้านตนเอง และในบางกรณีไม่ทราบสาเหตุ ในงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์แต่กำเนิดของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดวาย 82 ซี (Y82C) กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดทีเซลล์ชื่อว่า subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์ของการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง SPTCL และกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ และเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิก (clinical outcome) รวมถึงอัตราการมีชีวิตรอด (survival outcome) กับภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากสาเหตุอื่นๆ งานวิจัยรวบรวมผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากเกณฑ์การวินิจฉัยของปี 2004 (HLH-2004 criteria) หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่เข้าได้กับภาวะนี้แม้ไม่ครบตามเกณฑ์วินิจฉัย นำชิ้นเนื้อที่เก็บในพาราฟิน หรือเลือดมาสกัดดีเอนเอและใช้เทคนิคการหาลําดับนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) เพื่อตรวจหายีนเอชเอวีซีอาร์ทูตำแหน่งวาย 82 ซี (Y82C) ในผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL และไม่ทราบสาเหตุ ผลการศึกษา รวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 65 คน โดยเป็นผู้ชาย 60% และมีค่ามัธยฐานอายุที่ 45 ปี ตรวจพบการกลายพันธุ์ยีนเอชเอวีซีอาร์ทูทั้งหมด 9 (13.8%) คน โดยเป็นผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 5 คน และไม่ทราบสาเหตุอีก 4 คน สาเหตุอื่นของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมได้แก่ โรคมะเร็งที่ไม่ใช่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด SPTCL 22 (33.8%) คน, ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู 18 (27.7%) คน, การติดเชื้อ 10 (15.4%) คน และภาวะภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง 6 (9.2%) คน โดยผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูมีการรอดชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยมี hazard ratio (HR) 0.218; 95% Confidence interval (CI) 0.05-0.90, p-value 0.036 และกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์นี้เองมีระดับฮีโมโกลบินที่สูงกว่า และระดับนิวโตรฟิลที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุป การกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทูสามารถที่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรม ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตที่ดีกว่า รวมถึงช่วยบอกพยากรณ์โรคของภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมได้
dc.description.abstractalternative Hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH) is immune overactivation condition. Etiologies included malignancies, infections, and autoimmune diseases. Recent studies identified association between germline HAVCR2 mutations, commonly p.Y82C, in subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) and HLH. We aimed to explore the incidence of germline HAVCR2 mutation in SPTCL-associated and idiopathic HLH and compare clinical outcomes with HLH from other causes. We collected patients, aged 15 or older, with HLH or HLH-like systemic illness. HLH was defined according to the HLH-2004 criteria. While HLH-like systemic illness was incomplete HLH-2004 criteria patients, but clinically consistent with HLH. Direct sequencing was done in idiopathic and SPTCL-associated HLH to detect germline HAVCR2 p.Y82C. DNA was extracted from formalin-fixed paraffin-embedded specimens or blood samples. Of the 65 patients, 60% were male with median age of 45-year-old. We detected germline HAVCR2 mutations in 9 (13.8%) cases; 5 SPTCL and 4 idiopathic HLH. The other causes of HLH were 22 (33.8%) cases of hematologic malignancies excluding SPTCL, 18 (27.7%) idiopathic HLH without HAVCR2 mutation, 10 (15.4%) infections and 6 (9.2%) autoimmune diseases. Germline HAVCR2 mutation patients showed superior survival than the others with hazard ratio 0.218; 95% Confidence interval 0.05-0.90 and p-value 0.036. Patients with germline HAVCR2 mutations showed significantly higher hemoglobin levels but lower absolute neutrophil count. In conclusion, germline HAVCR2 mutations define a subgroup of HLH with better survival than the others and help to determine the prognosis of HLH.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1029
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Education
dc.subject.classification Medicine
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างการพยากรณ์โรคที่ดีของผู้ป่วยที่มีภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมและการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู 
dc.title.alternative Good Prognosis of Adult Hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH) associated with the HAVCR2 germline mutation
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.1029


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record