DSpace Repository

บทบาทของทักษะทางการเงินที่มีต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ขนิษฐา แต้มบุญเลิศชัย
dc.contributor.author ศักดิ์ศิริ เสาโกมุท
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:12:52Z
dc.date.available 2023-08-04T06:12:52Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82583
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานศึกษานี้ต้องการศึกษาอิทธิพลของทักษะทางการเงินต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลการสำรวจระดับความรู้ทางการเงินและการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนปี พ.ศ. 2561 จำนวน 11,129 ตัวอย่าง สร้างเป็นตัวแปรทักษะทางการเงิน และการเข้าถึงบริการทางการเงินซึ่งมีลักษณะเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ตามลำดับ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยแบบจำลองการถดถอยแบบสองชั้น (2-Stage Least Squares : 2-SLS) โดยใช้ระดับทักษะทางการเงินเฉลี่ยของจังหวัดที่กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ และทักษะทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง เป็นตัวแปรเครื่องมือ (Instrumental Variable : IV) เพื่อแก้ปัญหาตัวแปรภายใน (Endogeneity) ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวแปรการเข้าถึงบริการทางการเงินและตัวแปรทักษะทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่าระดับทักษะทางการเงินไม่เพียงแต่จะมีความสัมพันธ์กับระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินในภาพรวมเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินกลุ่มต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การทดสอบยืนยันผลการศึกษาด้วยการแบ่งกลุ่มลักษณะประชากรตามลักษณะรายได้ และลักษณะการกระจายตัวของระดับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ยังคงแสดงให้เห็นว่าทักษะทางการเงินมีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทย
dc.description.abstractalternative This paper examines the influence of financial literacy on financial inclusion in the context of Thailand. The study uses data from the 2018 Financial Access Survey of Thai Households with 11,129 participants, constructs financial literacy and financial inclusion as quantitative variables respectively, and uses 2-stage least squares (2-SLS) with mean financial literacy score at the provincial level and mathematical skills of the respondents as instrumental variables to solve the potential endogeneity problem caused by reverse causation between financial literacy and financial inclusion. The findings show that financial literacy not only has statistically positive impacts on overall financial inclusion but also increases the likelihood to access various financial products. Moreover, using various sub-groups of population and level of financial inclusion as confirmed robustness check still show that financial literacy influence access to financial inclusion in Thailand.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.428
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title บทบาทของทักษะทางการเงินที่มีต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทย
dc.title.alternative The role of financial literacy on financial inclusion in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.428


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record