DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินิเวศแม่น้ำกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษา แม่น้ำยมกับเมืองแพร่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดนัย ทายตะคุ
dc.contributor.author ณัฐพงศ์ สิริสมพรคง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:47:16Z
dc.date.available 2023-08-04T06:47:16Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82758
dc.description วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract แม่น้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิประเทศรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงให้ทรัพยากรแก่มนุษย์ นอกจากปัจจัยด้านทรัพยากรแล้ว ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขจากผลกระทบของกระบวนการของแม่น้ำด้วย เช่น การหลากของน้ำตามฤดูกาลที่ทำให้เกิดที่ราบน้ำท่วมถึงและลานตะพักลำน้ำ ซึ่งเป็นรูปแบบทางธรณีสัณฐานที่มีคุณประโยชน์หลายด้าน โดยลานตะพักลำน้ำในที่ราบลุ่มหรือแอ่ง เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากสามารถเข้าถึงแม่น้ำได้สะดวก และพื้นที่มีระดับสูงทำให้ได้รับผลกระทบจากน้ำหลากน้อย วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขตภูมินิเวศแม่น้ำและความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งถิ่นฐานของเมืองแพร่กับแม่น้ำยม โดยอาศัยพื้นฐานจากกรอบแนวคิดภูมินิเวศวิทยาและภูมินิเวศแม่น้ำ ใช้การวิเคราะห์ในเชิงพื้นที่ด้วยรูปตัดภูมิประเทศจากแบบจำลองความสูงเชิงเลข และข้อมูลธรณีวิทยา รวมถึงสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมืองแพร่ตั้งอยู่บนลานตะพักแม่น้ำยมชิดกับแนวเขตที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นการตั้งถิ่นฐานที่อยู่บนเงื่อนไขของปัจจัยเชิงนิเวศ แต่ในปัจจุบันเมืองแพร่มีการขยายตัวมากขึ้นจนขยายเข้าสู่พื้นที่แนวแม่น้ำยม และมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยในที่ราบน้ำท่วมถึงอีกด้วย ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษานี้จึงจะเป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผนการจัดการภูมินิเวศให้สอดคล้องกับปัจจัยทางภูมินิเวศของภูมินิเวศแม่น้ำ และการอยู่ร่วมกับแม่น้ำในอนาคต
dc.description.abstractalternative Rivers are a factor that creates various types of landforms and provide valuable resources for people. Moreover, the effects of river processes are one of the considered factors for human settlements. Annual flood is a river dynamic that creates different landforms: floodplains and river terraces. Those landforms both benefit local people in many ways. For example, river terraces are suitable areas for human settlements as they provide easy access to the river, and the high land elevation reduces the risks of flooding in built-up areas. This research aims to identify the riverscape boundaries and study the relationship between the human settlements of Mueang Phrae and the Yom River. Based on landscape ecology and riverscape approach, the research focuses on a spatial analysis of topographic cross-section using Digital Elevation Models and geological data, as well as observing land cover changes. The results show that Mueang Phrae is located on the Yom River terrace adjacent to the floodplain area, and its settlement is based on ecological factors. However, the city has expanded into the Yom River corridor. Apart from that, the land use policy designated for residential use is also located in floodplain areas. The study’s findings provide baseline information for landscape planning consistent with the ecological factors of the riverscape and living with the river in the future.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.723
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินิเวศแม่น้ำกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษา แม่น้ำยมกับเมืองแพร่
dc.title.alternative The relationship between riverscapes and human settlements : a case study of the Yom River and Mueang Phrae
dc.type Thesis
dc.degree.name ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภูมิสถาปัตยกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.723


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record