Abstract:
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด จากร้อยละ 12 และใน พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18 จากประชากรรวมทั้งประเทศ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวพบว่าสถิติผู้มีงานทำทั่วประเทศที่มีอายุ 50-59 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นไปในทิศทางเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับสัดส่วนแนวโน้มแรงงานก่อสร้างในเขตกทม. ที่เพิ่มจาก ร้อยละ 12 ในพ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 16 ใน พ.ศ. 2564 จากจำนวนแรงงานก่อสร้างรวมทั้งประเทศ จึงอาจกล่าวได้ว่ายิ่งมีแรงงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแคมป์มากขึ้นจะมีสัดส่วนแรงงานที่ต้องสูงอายุมากขึ้น ซึ่งแรงงานก่อสร้างที่พักอาศัยในแคมป์คนงาน หลังจากเกษียณอายุแล้วไม่สามารถอาศัยอยู่ในแคมป์ได้ แรงงานกลุ่มนี้ก่อนวัยเกษียณอายุส่วนใหญ่จะมีลักษณะสังคม เศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยหลังเกษียณอายุอย่างไร โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้าง และพักอยู่ในแคมป์คนงานที่รับผิดชอบโดย 4 บริษัทกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ และสรุปผลการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณจากการเก็บแบบสอบถามแรงงานก่อสร้างชาวไทย 400 ตัวอย่าง และชาวเมียนมา 400 ตัวอย่าง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก 20 คน จากแรงงานกลุ่มประชากรแรงงานก่อสร้าง จำนวน 2,471 คน
จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานก่อสร้างชาวไทย มีกลุ่มที่เตรียมการ และไม่เตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ร้อยละ 84.25 และ 15.75 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยที่เหมือนกันในด้านสังคม ส่วนใหญ่มีสถานะสมรส, มีบุตร 1 คน, ตำแหน่งกรรมกร ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 12,000 บาท, รายจ่ายต่อคนต่อเดือน 5,000-10,000 บาท, มีการออมเงินในบัญชีเงินฝาก, มีสิทธิ์ประกันสังคม, ไม่มีโรคประจำตัว, จะหยุดทำงานก่อสร้างเมื่ออายุ 55-60 ปี, จะทำเกษตรกรรมหลังเกษียณ ด้านที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม ส่วนใหญ่มีที่ตั้งภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคอีสาน, ไม่มีปัญหาในที่อยู่อาศัย, กลุ่มที่มีปัญหาส่วนใหญ่ต้องการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด, มีงบประมาณที่คาดไว้ น้อยกว่า 100,000 บาท, ด้วยเงินออม, มีการออมเงินไว้บางส่วนน้อยกว่า 20,000 บาท, จะดำเนินการ 3-5 ปีข้างหน้า และมีปัจจัยที่แตกต่างกันในด้านที่อยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิม กรรมสิทธิ์ในภูมิลำเนาเดิม กลุ่มเตรียมการทั้งหมดมีกรรมสิทธิ์หรือจะได้มรดก, กลุ่มที่ไม่เตรียมการทั้งหมดไม่มีกรรมสิทธิ์, ผู้จะกลับไปอาศัยด้วยส่วนใหญ่ กลุ่มเตรียมการจะอยู่กับภรรยา/สามี, กลุ่มที่ไม่เตรียมการจะอยู่กับบุตรหลาน ญาติ พี่น้อง และกลุ่มตัวอย่างแรงงานก่อสร้างชาวเมียนมา มีกลุ่มที่เตรียมการ และไม่เตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ร้อยละ 67.25 และ 32.75 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยที่เหมือนกันในด้านสังคม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานะสมรส, มีบุตร 1 คน, ช่วงอายุไม่เกิน 30 ปี, มีประสบการณ์ก่อสร้างน้อยกว่า 1 ปี, ตำแหน่งกรรมกร ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 12,000 บาท, รายจ่ายต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 5,000 บาท, มีการออมเงินในบัญชีเงินฝาก, จะทำเกษตรกรรมหลังเกษียณ, มีสิทธิ์ประกันสังคม, ไม่มีโรคประจำตัว, จะหยุดทำงานก่อสร้างเมื่ออายุ 55 ปี ด้านที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม ส่วนใหญ่ที่ตั้งภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ไม่มีปัญหาในที่อยู่อาศัย, กลุ่มที่มีปัญหาส่วนใหญ่ต้องการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด, มีงบประมาณที่คาดไว้ น้อยกว่า 100,000 บาท, ด้วยเงินออม, มีการออมเงินไว้บางส่วนน้อยกว่า 20,000 บาท, จะดำเนินการ 3-5 ปีข้างหน้า, จะกลับไปอยู่กับบุตรหลาน ญาติ พี่น้อง และมีปัจจัยที่แตกต่างกันในด้านที่อยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิม กรรมสิทธิ์ในภูมิลำเนาเดิม กลุ่มเตรียมการทั้งหมดมีกรรมสิทธิ์หรือจะได้มรดก, กลุ่มที่ไม่เตรียมการทั้งหมดไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม
การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มแรงงานก่อสร้างนั้นต้องเป็นหนี้ในระยะยาวกว่าคนกลุ่มอื่น และความไม่เติบโตของรายได้ทำให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสสูญเสียที่อยู่อาศัย และอยู่ในวงจรหนี้สิน ในระยะยาวอาจเป็นภาระสำหรับคนกลุ่มนี้มากกว่าการเช่า หากภาครัฐมีการแบ่งงบประมาณที่ช่วยเหลือผู้ที่จะซื้อบ้านบางส่วน มาอุดหนุนโครงการเช่าที่อยู่อาศัยเพื่อสังคมหลังเกษียณจะมีส่วนช่วยกลุ่มแรงงานผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ และไม่มีศักยภาพในการซื้อที่อยู่อาศัย ร่วมกับการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ถึงแม้แรงงานก่อสร้างจะเป็นเพียงกลุ่มคนจำนวนไม่มาก แต่การจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ควรมองข้ามคนกลุ่มนี้ การสร้างนโยบายอุดหนุนการออมเงินที่สามารถจูงใจให้เกิดการออมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งการออมเพื่อที่อยู่อาศัยถือเป็นบันไดขั้นแรกสำหรับการเข้าถึงที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นการเช่า หรือการซื้อก็ตาม