Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนของทหารไทยที่มีต่อจีนหลังเกิดการรัฐประหาร 2006 และ 2014 เพราะเป็นระยะเวลาที่กองทัพไทยเข้ามาแทรกแซงและหยั่งรากลึกบทบาททหารในทางการเมือง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาของประเทศไทย เพื่อให้เห็นภาพสะท้อนของทหารไทยที่มีต่อจีนชัดขึ้น ผู้วิจัยจึงทบทวนวรรณกรรมและตีความมุมมองที่อาจเกิดขึ้นได้ในทัศนะของไทยมีต่อจีนออกมาได้ 4 มุมมองคือ 1) มุมมองที่มีต่อจีนผ่านฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยหลังการรัฐประหาร 2549 2) มุมมองที่มีต่อจีนว่าเป็นภัยคุกคาม 3) มุมมองที่มีต่อจีนของอาเซียน และ 4) มุมมองที่มีต่อจีนผ่านผลประโยชน์ระหว่างไทย-จีนเท่านั้นซึ่งศึกษาภาพสะท้อนผ่านเอกสารวิจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ตั้งแต่รุ่นที่ 50 – 61 ทั้งหมด 16 เล่มล้วนเป็นชนชั้นนำทางทหารและอาจส่งมุมมองข้างต้นเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดนโยบายไทยที่มีต่อจีนได้ จากการศึกษา เนื้อหาเอกสารวิจัยส่วนบุคลของนักศึกษาวปอ. สามารถจัดกลุ่มและจำแนกให้เข้ากับมุมมองที่ไทยมีต่อจีนในทั้ง 4 มุมมองข้างต้นได้ เห็นว่ามุมมองที่มีต่อจีนผ่านฝ่ายอนุรักษ์นิยมไทยมีทั้งหมด 2 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 11, มุมมองที่มีต่อจีนว่าเป็นภัยคุกคามมีทั้งหมด 1 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6, มุมมองที่มีต่อจีนของอาเซียนมีทั้งหมด 6 เล่มซึ่ง คิดเป็นร้อยละ 33 และมุมมองมีต่อจีนผ่านผลประโยชน์ระหว่างไทย-จีนมีทั้งหมด 9 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 50 ดังนั้น ภาพสะท้อนของชนชั้นนำทหารไทยที่มีต่อจีนนั้นมีแนวโน้มที่ในการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนต่อไปซึ่งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์พิเศษระหว่างไทย-จีนและดึงอาเซียนให้เข้ามามีส่วนร่วม เป็นลำดับต่อมา