Abstract:
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการแยกแก๊สผสมไนโตรเจน/เฮกเซน/1-บิวทีนด้วยเมมเบรน
คอมพอสิตไคโตซานที่ผสมผสานเทคนิคการเตรียม 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเติมอนุภาคซีโอไลต์ชนิด 4A ปริมาณร้อยละ 0, 1 และ 5 โดยน้ำหนักของไคโตซาน 2) การปรับความหนาของชั้นฟิล์มไคโตซาน 100 และ 50 ไมครอน 3) การใช้วัสดุฐานรองเป็นผ้าสปันบอนด์ชนิดพอลิโพรพิลีนและพอลิเอสเตอร์ และ 4) การเชื่อมขวางเมมเบรนคอมพอสิตด้วยสารละลายกรดซัลฟิวริก นอกจากนั้นยังได้ศึกษาผลการสะสมของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดไตรเอทิลอลูมินัม (TEAL) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตพอลิเอทิลีนด้วยเทคโนโลยี CX บนเมมเบรนคอมพอสิตไคโตซานต่อสมรรถนะการแยกแก๊ส จากการศึกษาพบว่าเมมเบรนคอมพอสิตไม่เชื่อมขวางที่มีความหนาของชั้นฟิล์มไคโตซานหนา 100 ไมครอน ผสมผงซีโอไลต์ 4A ปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก และใช้วัสดุฐานรองผ้าสปันบอนด์ชนิดพอลิโพรพิลีน มีค่าแฟกเตอร์การแยกแก๊สสูงถึง 2.08±0.06 สำหรับคู่แก๊สไนโตรเจน/เฮกเซน และ 1.28±0.10 สำหรับคู่แก๊สไนโตรเจน/1-บิวทีน ในขณะที่ค่าความสามารถในการซึมผ่านแก๊สเท่ากับ 5127±745 แบร์เรอร์ เมื่อใช้อุณหภูมิดำเนินการ 10 องศาเซลเซียส ความดันแก๊สผสมขาเข้า
เมมเบรน 4 บาร์ ความดันฝั่งเพอมิเอตเป็นความดันบรรยากาศ (1 บาร์) ความเข้มข้นเฮกเซนและ 1-บิวทีน ในแก๊สผสมเป็นร้อยละ 0.50 และ 4.50 โดยปริมาตร ตามลำดับ แต่ประสิทธิภาพในการแยกแก๊สของเมมเบรนจะลดลงเมื่อได้รับ TEAL และสูญเสียความสามารถในการแยกแก๊สเมื่อถูกแช่ในสารละลาย TEAL ที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง