dc.contributor.advisor |
อัญชริดา อัครจรัลญา |
|
dc.contributor.advisor |
สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
พุธิตา โชคเหรียญสุขชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T07:08:44Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T07:08:44Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82876 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
คัดกรองได้ยีสต์น้ำมัน Pseudozyma tsukubaensis YWT 7-2 จากยีสต์ทั้งหมด 28 สายพันธุ์ที่แยกมาจากป่าชายเลน จังหวัดจันทบุรี ซึ่งสะสมน้ำมันภายในเซลล์ 31.36% (น้ำหนัก/น้ำหนัก) ของน้ำหนักเซลล์แห้ง งานวิจัยนี้เป็นการรายงานครั้งแรกว่ายีสต์ P. tsukubaensis เป็นยีสต์น้ำมัน P. tsukubaensis YWT 7-2 สามารถผลิตน้ำมันเมื่อเจริญในอาหารที่มีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง (high C/N medium) และในสารละลายกลูโคส แสดงว่าการผลิตน้ำมันของยีสต์ P. tsukubaensis YWT 7-2 ในบางครั้งอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเจริญ แต่ให้ผลผลิตน้ำมันใน high C/N medium มากกว่าในสารละลายกลูโคส P. tsukubaensis YWT 7-2 ผลิตน้ำมันและเพิ่มจำนวนในไฮโดรไลเสตแป้งมันสำปะหลังที่ปรับด่างเกินด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (DCSH) ได้มากกว่าในไฮโดรไลเสตแป้งมันสำปะหลัง (CSH) ปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้เท่ากับ 1.49 กรัม/ลิตร (อัตราการผลิตน้ำมัน 0.75 กรัม/ลิตร/วัน) เมื่อเติม 0.25% (น้ำหนัก/ปริมาตร) แอมโมเนียมซัลเฟตลงใน DCSH พบว่าผลผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 3.85 กรัม/ลิตร (อัตราการผลิตน้ำมัน 1.28 กรัม/ลิตร/วัน) พีเอชเริ่มต้นทีเหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตน้ำมันคือ 5.5 การเพิ่มจำนวนเซลล์ของ P. tsukubaensis YWT7-2 ใน DCSH ที่เติม 0.2% (น้ำหนัก/ปริมาตร) แอมโมเนียมซัลเฟต และ 0.1% (น้ำหนัก/ปริมาตร) โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต แทนการเพิ่มจำนวนเซลล์ใน CSH ที่เติม 0.2% (น้ำหนัก/ปริมาตร) แอมโมเนียมซัลเฟต ทำให้ผลผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 5.42 กรัม/ลิตร (อัตราการผลิตน้ำมัน 1.36 กรัม/ลิตร/วัน) น้ำมันที่ยีสต์ P. tsukubaensis YWT7-2 ผลิตเมื่อเจริญใน high C/N medium และใน DCSH มีกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบหลักเหมือนกัน คือกรดปาล์มิติก กรดโอเลอิก กรดสเตียริก และกรดลิโนเลอิก น้ำมันของ P. tsukubaensis YWT7-2 มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ผลิตเป็นไบโอดีเซล |
|
dc.description.abstractalternative |
Oleaginous yeast, Pseudozyma tsukubaensis YWT7-2, was screened from 28 yeast strains isolated from mangrove forests in Chantaburi province. It had oil content 31.36% w/w, (dry cell weight). This is the first report of P. tsukubaensis YWT7-2 as oleaginous yeast. The P. tsukubaensis YWT7-2 produced oil when grown in both high carbon/ nitrogen medium and glucose solution. This indicated that cell propagation and oil production of the P. tsukubaensis YWT7-2 were temporally separated. However, maximum oil yield in the high carbon/nitrogen medium was higher than glucose solution. Oil content and cell biomass of the P. tsukubaensis YWT7-2 grown in cassava starch hydrolysate treated with Ca(OH)2 (DCSH) were higher than cassava starch hydrolysate (CSH). Maximum oil yield in the DCSH was 1.49 g/l (oil productivity 0.75 g/l/d) in the DCSH. Addition of 0.25% (w/v) (NH4)2SO4 into the DCSH increased the maximum oil yield to 3.85 g/l (oil productivity 1.28 g/l/d). Optimal pH for oil production was 5.5. Propagation of cell inoculum in DCSH containing 0.2% (w/v) (NH4)2SO4 and 0.1% (w/v) KH2PO4 instead of CSH containing 0.2% (w/v) (NH4)2SO4 increased the maximum oil yield to 5.42 g/l (oil productivity 1.36 g/l/d). Oil of P. tsukubaensis YWT7-2 produced in the high carbon/nitrogen medium and DCSH had similar major fatty acids composition; palmitic acid, oleic acid, linoleic acid and stearic acid. The P. tsukubaensis YWT7-2 oil was suitable as raw material for biodiesel production. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.768 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
การผลิตน้ำมันโดย Pseudozyma tsukubaensis จากแป้งมันสำปะหลัง |
|
dc.title.alternative |
Oil production by Pseudozyma tsukubaensis from cassava starch |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.768 |
|