dc.contributor.advisor |
Santi Pailoplee |
|
dc.contributor.advisor |
Pira Venunan |
|
dc.contributor.author |
Sutthikan Khamsiri |
|
dc.contributor.other |
Chulalongkorn University. Faculty of Sciences |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T07:09:14Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T07:09:14Z |
|
dc.date.issued |
2022 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82918 |
|
dc.description |
Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2022 |
|
dc.description.abstract |
This research aims to apply remote sensing and luminescence dating to study archaeological sites in Buriram Province, Northeastern Thailand. There are three main objectives including 1) to model the ancient path from the mountain passes along the Dângrêk mountain to ancient community on Angkor Highland or Northeast Thailand, 2) to directly date slag from the ancient iron smelting site at Ban Sai To 7, and 3) determine the terminal age of Ban Sai To 7 site using technical ceramics.
Firstly, the results of the GIS-based least cost path (LCP) route, using topographic factors, show that Ta Muen, Sai Ta Ku, and Krang are the most suitable for transportation between the Khorat plateau and present Cambodia. These results are consistent with archaeological evidence i.e., Dharmasalas. Most Khmer monuments are located in the vicinity of LCP routes. Moreover, the LCP route of Ta Muen is significant with the location of the ancient industrial zone in Ban Kruat District. However, most ancient smelting sites were in the Iron Age, although they were assumed to be active during the Khmer period when compared with the relative findings.
The major challenge of archaeometallurgy is the limitation of suitable sample for the scientific dating method. Therefore, the second is to investigate the absolute date of slag in the ancient iron-smelting site at Ban Sai Tho 7 by luminescence dating. The result slag shows the luminescence signal. Therefore, luminescence dating is an effective method to directly date slag. Moreover, the results show that the terminal activity of this site is 140 years ago. This result is in good agreement with the terminal period of ancient iron smelting in Cambodia.
Finally, the dates of technical ceramics i.e., furnace and tuyere fragments in the slag heap at Ban Sai Tho 7, show that there were at least two different periods of furnace construction including 360-370 years and 1000-1110 years ago. It is indicated that there are many phrases of smelting in one heap. When comparing the ages between slags and technical ceramics, the results of these two materials are in good agreement. Moreover, this finding shows that the large size of the ancient iron-smelting site at Ban Sai Tho 7 came from a long operational lifespan rather than a large operation in a short period. The route of ancient transportation is significant with the location of ancient industrial zone especially ancient iron-smelting sites that had been since the Iron Age, the Khmer Period and the post-Khmer period. |
|
dc.description.abstractalternative |
งานวิจัยนี้ มุ่งเน้นการประยุกต์เครื่องมือการสำรวจข้อมูลระยะไกล (remote sensing) และการหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง (luminescence dating) เพื่อศึกษาแหล่งโบราณคดี ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์การศึกษา 3 ข้อ คือเพื่อ 1) จำลองเส้นทางการเดินทางในอดีต จากช่องเขาต่างๆ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก ไปยังชุมชนโบราณ 297 แห่งที่สำรวจและรายงานไว้บนที่ราบสูงโคราช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) กำหนดอายุสัมบูรณ์จากตัวอย่างตะกรันเหล็กในแหล่งอุตสาหกรรมถลุงเหล็กโบราณบ้านสายโท 7 และ 3) กำหนดอายุแหล่งอุตสาหกรรมถลุงเหล็กโบราณบ้านสายโท 7 จากชิ้นส่วนของเตาถลุงเหล็ก
ผลการจำลองเส้นทางโดยอาศัยการวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศ (Geographic information system) และการพิจารณาข้อมูลภูมิประเทศเป็นหลักบ่งชี้ว่า ช่องเขาตาเหมือน ช่องกร่าง และช่องสายตะกู มีความเหมาะสมในการเดินทางจากที่ราบสูงโคราชไปสู่ที่ราบลุ่มของประเทศกัมพูชา (ปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลที่ว่ามีระยะทางโดยรวมสั้นที่สุด สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ตำแหน่งโบราณสถานธรรมศาลาหรือบ้านมีไฟ ที่มีความต่อเนื่องจากช่องตาเหมือนสู่เมืองพิมาย เมื่อเปรียบเทียบกับโบราณสถานขนาดเล็กในพื้นที่ พบว่าแนวเส้นทางที่จำลองได้จากงานวิจัยนี้ ผ่านโบราณสถานเหล่านั้นเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้พบว่าเส้นทางโบราณมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้งของกลุ่มอุตสาหกรรมโบราณ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมถลุงเหล็กโบราณในอำเภอบ้านกรวด มีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีการผลิตในยุคเหล็ก แต่จากความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งเครื่องปั้นดินเผาเขมรกับแหล่งถลุงเหล็กโบราณ มีความเป็นไปได้ที่แหล่งถลุงเหล็กโบราณมีการทำต่อเนื่องเป็นเวลานานจนถึงยุคเมืองพระนคร
เนื่องจากปัญหาในการขาดแคลนตัวอย่างที่เหมาะสม สำหรับการหาอายุสัมบูรณ์โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ของแหล่งถลุงเหล็กในประเทศไทย ทำให้ข้อมูลอายุในหลายแหล่งพื้นที่ไม่สมบูรณ์ ในการศึกษาการกำหนดอายุวัสดุทางโบราณคดีด้วยวิธีเปล่งแสง งานวิจัยนี้มุ่งเน้นทดสอบความเป็นไปได้ในการกำหนดอายุสัมบูรณ์จากตัวอย่างตะกรันเหล็ก ซึ่งผลการกำหนดอายุแร่ควอตซ์จากก้อนตะกรันเหล็ก บ่งชี้ว่าการหาอายุตะกรันเหล็กด้วยวิธีเปล่งแสง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือในการหาอายุอุตสาหกรรมเหล็กโบราณ โดยพบว่ามีการถลุงเหล็กเมื่อ 140 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งผลอายุการถลุงเหล็ก 140 ปี เป็นอายุน้อยที่สุดที่เคยมีการรายงานไว้ในพื้นที่ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และอายุ 140 ปี ที่ได้จากงานวิจัยนี้ ยังสอดคล้องกับ อายุสุดท้ายของกิจกรรมถลุงเหล็กโบราณ ที่มีรายงานไว้ในพื้นที่ประเทศกัมพูชา
ในกรณีการกำหนดอายุตัวอย่างเตาดินเผาที่ใช้ในการถลุงเหล็ก ผลการกำหนดอายุแสดงถึงลำดับการสร้างเตา 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 360-370 ปี และ 1,000–1,110 ปี จึงสรุปพฤติกรรมการสร้างเตาถลุงเหล็กว่า มีการสร้างเตาถลุงเหล็กเก่าร่วมกับเตาถลุงเหล็กใหม่ในกองตะกรันเดียวกันเพื่อใช้ในการถลุงเหล็ก ซึ่งผลอายุสัมบูรณ์จากตะกรันเหล็กและชิ้นส่วนเตาถลุงเหล็กมีความสอดคล้องกัน และกลุ่มกองตะกรัมในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กโบราณบ้านสายโท 7 มีความเป็นไปได้ที่เกิดจากการผลิตเป็นระยะเวลายาวนาน มากกว่าการผลิตขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันสั้น และแบบจำลองการเดินทางเดินโบราณจากช่องตาเหมือนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสัมพันธ์กับแหล่งอุตสาหกรรมถลุงเหล็กโบราณในอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีการผลิตตั้งแต่ยุคเหล็ก (5 ปีก่อนคริสต์ศักราช–คริสต์ศตวรรษที่ 6) ยุคเมืองพระนคร (คริสต์ศตวรรษที่ 9–13) และยุคหลังเมืองพระนคร (คริสต์ศตวรรษที่ 15–คริสต์ศักราช 1863 ) |
|
dc.language.iso |
en |
|
dc.publisher |
Chulalongkorn University |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.169 |
|
dc.rights |
Chulalongkorn University |
|
dc.title |
Remote sensing and luminescence dating of archaeological sites in Buriram province, northeastern Thailand |
|
dc.title.alternative |
การสำรวจข้อมูลระยะไกลและการหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสงของแหล่งโบราณคดีในจังหวัดบุรีรัมย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
Doctor of Philosophy |
|
dc.degree.level |
Doctoral Degree |
|
dc.degree.discipline |
Geology |
|
dc.degree.grantor |
Chulalongkorn University |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.169 |
|