dc.contributor.advisor |
วิทิต ปานสุข |
|
dc.contributor.author |
โสภณ ยศสาพงศ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T07:35:12Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T07:35:12Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83000 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนักคงที่ของกระจกเทมเปอร์ที่ติดตั้งด้วยตัวยึดต่อกระจกแบบเจาะรูโดยใช้ลมและน้ำในการทดสอบการบรรทุกน้ำหนักพร้อมทั้งทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดสอบที่ได้ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method ,FEM) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SAP2000 ในการสร้างแบบจำลอง โดยในการทดสอบใช้กระจกเทมเปอร์มีความหนา 12 mm ขนาด 1200x1200 mm ที่เจาะรู 18 mmและ 38 mm อย่างละ 1 ตัวอย่างและขนาด 1200x2400 mm ที่เจาะรู 38 mm 1 ตัวอย่าง เจาะรูที่กระจก 4 จุดต่อแผ่นสำหรับติดตั้งตัวยึดต่อกระจก 2 ผลิตภัณฑ์ เพื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการรับแรง ระยะโก่งตัว และการกระจายแรงในแผ่นกระจก โดยศึกษาเปรียบเทียบผลของผลิตภัณฑ์ตัวยึดต่อกระจกที่ต่างกัน ลักษณะการติดตั้งที่ต่างกัน ขนาดรูเจาะที่ต่างกันในตัวยึดต่อกระจกตัวเดียวกัน ขนาดกระจกที่ต่างกัน โดยรวม กระจกเทมเปอร์ ขนาด 1200x1200 mm สามารถรับแรงได้ในช่วง 16,000 Pa ถึง 19,400 Pa และมีการโก่งตัวที่ศูนย์กลางแผ่นกระจกที่ประมาณ 23 mm – 26 mm ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ และลักษณะการติดตั้งส่วน ขนาด 1200x2400 mm สามารถรับแรงได้ในช่วง 3,400 Pa ถึง 3,600 Pa และมีการโก่งตัวที่ศูนย์กลางแผ่นกระจกที่ประมาณ 93 mm – 98 mm ขึ้นอยู่กับลักษณะการติดตั้งเช่นกัน ในด้านการโก่งตัวที่กึ่งกลางกระจก มีแปรผันตามความสามารถในการรับแรงของกระจกที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง และพบว่ากระจกมีความเค้นสูงสุดเกิดขึ้นที่บริเวณ กึ่งกลางระหว่างจุดรองรับ ในทุกกรณีทดสอบ |
|
dc.description.abstractalternative |
This paper present a behavior of tempered glass with drilled type connector by testing with air pressure and water pressure and compare test result by computation model Finite element method (FEM). Sample of tempered glass testing use 12 mm thickness sizing 1200x1200 mm and 1200x2400 mm with four points supported installation to study and compare result the connector type and sizing effect, the installation condition effect, the sizing of drilled hole effect and the glass ratio effect to the maximum load resistance ,defection and position of maximum stress of testing glass. The results show that load resistance and deflection depend on type of connector and installation conditions. Glass sizing 1200x1200 mm can carry load range between 16,000 Pa to 19,400 Pa and deflection 23 mm to 26 mm; in addition, glass sizing 1200x2400 mm can carry load range between 3,400 Pa to 3,600 Pa. Moreover, the position of maximum stress of glass is on middle edge of glass panel for all case. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1201 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
พฤติกรรมกระจกเทมเปอร์ติดตั้งด้วยตัวยึดต่อชนิดรูเจาะ |
|
dc.title.alternative |
Behavior of tempered glass with drilled type connector |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.1201 |
|