DSpace Repository

การรับรู้และการให้ความร่วมมือของพนักงานระดับปฎิบัติการต่อมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุในการทำงาน 

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิมพ์สิริ อรุณศรี
dc.contributor.author กาจกำแหง ศุภประเสริฐ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T08:22:33Z
dc.date.available 2023-08-04T08:22:33Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83313
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากการใช้แรงงานคนมาเป็นเทคโนโลยีและเครื่องจักร ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งจะก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมาก การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่สอดคล้องกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน (2) เพื่อศึกษากระบวนการที่สนับสนุนในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ของบริษัทเอกชนสัญชาติไทยแห่งหนึ่ง ในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ในบริบทของงานวิจัยนี้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ในบริษัทแห่งนี้ จํานวน 5 คน และเจ้าหน้าที่แผนกทรัพยากรบุคคล (HR) จํานวน 2 คน ผลการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญทั้งหมด  เมื่อนํามาเปรียบเทียบจากการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน เพื่อวิเคราะห์ว่าการรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ การให้ความร่วมมือและเห็นความสำคัญกับกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ในการขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ที่บริษัทฯกําหนดหรือไม่อย่างไร โดยในภาพรวมพบว่า ถึงแม้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์จะมีการรับรู้พื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับคู่มือ /แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติิเหตุในการทำงาน แต่จากผลการสังเกตการณ์พบว่าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับขี่รถโฟล์คลิฟท์ในบางครั้งยังไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่ใส่เสื้อสะท้อนแสง ไม่จอดรถที่จุดจอด เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความไม่ต่อเนื่องและเข้มงวดในการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ซึ่งบริษัทฯควรสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการรับรู้และการให้ความร่วมมือด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องต่อไป                    
dc.description.abstractalternative Over the past decade, the industry has made great strides due to the shift in production processes from manual labour to technology and machines that increase the risk of accidents at work where each accident will cause a big loss. The objectives of this research study were (1) to study perceptions, attitudes and behaviours in accordance with the manual/guidelines for the implementation of preventive measures against accidental risks at work and (2) to study the processes that support the implementation of safety measures of a Thai private company in the Samut Prakan Province industrial area. The context of this research has key informants, namely five employees who drive a forklift in this company and two human resources (HR) personnel. Interview results from all key informants when comparing the knowledge and understanding of manuals/guidelines for the implementation of preventive measures against accidental risks at work to analyse whether the perceptions, cooperating and seeing the importance of the rules and criteria for driving a forklift that the company has set found that although forklift operators have good basic knowledge about manuals/guidelines for the implementation of measures to prevent accidents at work, they sometimes do not wear helmets, do not wear a reflective vest and do not park at the parking lot. It shows the discontinuity and strictness in promoting a safety culture in the organization. Hence, the company should continue to create an atmosphere that promotes awareness and cooperation on safety.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.255
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การรับรู้และการให้ความร่วมมือของพนักงานระดับปฎิบัติการต่อมาตรการป้องกันความเสี่ยงอุบัติเหตุในการทำงาน 
dc.title.alternative Recognition and cooperation of operational level employees on measures to prevent accident risks at work
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2022.255


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record