dc.contributor.advisor |
ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา |
|
dc.contributor.author |
จิรัฏฐ์ จิตอรุโณทัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T08:22:34Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T08:22:34Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83315 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเครียดในการทำงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมศุลการกรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพิกัดอัตราศุลการกร ในการนี้ผู้วิจัยเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ กองมาตรฐานพิกัดอัตราศุลกากร และกองนโยบายและอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากร รวมจำนวน 105 คน โดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในการทำงานแบบภาพรวมในระดับปานกลาง และพบว่าปัจจัยที่มีค่าระดับความเครียดในการทำงานสูงที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะงาน รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านโครงสร้างและบรรยากาศในองค์การ ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ปัจจัยด้านบทบาทหน้าที่ และปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลตามลำดับ อีกทั้งในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในระดับมาก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านได้พบว่า กลุ่มตัวอย่างประเมินว่าตนเองมีประสิทธิภาพด้านคุณภาพผลงานมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านระยะเวลา และด้านปริมาณผลงานตามลำดับ นอกจากนี้ในกรณีที่เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ข้อค้นพบที่สำคัญในการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านความเครียดจำนวน 4 ใน 5 ด้านมีลักษณะแปรผกผันกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านพิกัดอัตราศุลกากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือกล่าวอีกนัยได้ว่าถ้ากลุ่มตัวอย่างประเมินว่าตนเองไม่ค่อยมีความเครียดในการปฏิบัติงาน พวกเขาก็จะยิ่งประเมินว่าตนเองมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยความเครียดด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านพิกัดอัตราศุลกากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ประการใด |
|
dc.description.abstractalternative |
This work aims to study relationship between work stress and performance of customs staff pertaining to customs tariff. The author used quantitative research on a sample group of 105 customs staff member from the Customs Tariff Standard Division and Customs Tariff Policy and Appeal Division. A structural survey was used to collect information. The study found that the sample group had moderate level of stress, with the biggest factor in stress being job descriptions, followed by organizational structure and atmosphere, career advancement, duties, and interpersonal relationship respectively. This study also found that performance of the sample group was high, with work quality being the biggest factor, followed by time and quantity of work respectively. Correlation analysis revealed that 4 out of 5 stress factors had statistically-significant inverse relationship with customs tariff performance. In other words, if the sample rated themselves as having low stress at work, they would rate themselves as having better performance. Nevertheless, stress about career advancement did not have statistically-significant relationship with performance. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.257 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
ปัจจัยด้านความเครียดในการทำงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพิกัดอัตราศุลกากร |
|
dc.title.alternative |
Factors of job stress and work efficiency of Thai customs officials related to customs tariff work |
|
dc.type |
Independent Study |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.IS.2022.257 |
|