Abstract:
การศึกษาการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยการวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทราบถึงลักษณะของการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน อีกทั้งทราบถึงศึกษาการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อไปพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน. โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยที่มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำแนกเป็น 2 กลุ่มคือดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างของระดับผู้บังคับบัญชาของกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ 2) กลุ่มตัวอย่างระดับผู้ใต้บังคับบัญชาของกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) แรงขับของการเรียนรู้หรือความพร้อมของการเรียนรู้ ประกอบด้วย อายุและประสบการณ์ในการทำงาน 2) สิ่งเร้าการเรียนรู้หรือการเผชิญกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น คือ การเรียนรู้จากคดีค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เกิดขึ้นจริง 3) การตอบสนองต่อการเรียนรู้ คือ การปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรมีสมรรถนะคือ 1) ความรู้เกี่ยวเท่าทันกับการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล โดยจะต้องมีความรู้ว่าเมื่อเราพบเจอสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิด เจ้าหน้าที่ทุกนายต้องมีความรู้ให้เท่าทันกับช่องการกระทำความผิดที่ผู้กระทำผิดใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้การกระทำความผิดผ่านทางออนไลน์ยังมีน้อยแต่ด้วยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากและยิ่งตรวจสอบได้ยาก เพราะฉะนั้นแล้วเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความรู้ให้เท่าทันในการเก็บพยานหลักฐานจากช่องทางในการกระทำความผิดในทุกกรณี 2) ทักษะการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล ด้วยช่องทางการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นทางดิจิทัลมากขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานโดยการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัล ซึ่งก่อนหน้านี้มีการกระทำความผิดทางช่องทางออนไลน์ที่น้อยจึงทำให้มีทักษะในการเก็บพยานหลักฐานที่น้อย และด้วยยุคสมัยและช่องทางการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีทักษะการเก็บพยานหลักฐานที่ถูกต้องและสามารถรวบรวมข้อมูลได้มากที่สุดเพื่อนำไปสู่การพิสูจน์ผู้กระทำความผิดจ่ต่อไป 3) ความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างครอบคลุม ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไป ที่เพราะผู้กระทำความผิดมีการพัฒนาช่องทางการกระทำความผิดหรืออุปกรณ์ที่ใช้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการทำงานในปัจจุบันยังมีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์ที่ยังไม่มากพอ ประกอบกับเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บพยานหลักฐานที่ยังไม่มีความรู้ที่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายจึงต้องมีทั้งความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกร์หรือเครื่องมือพิเศษในการช่วยการเก็บพยานหลักฐาน ทั้งนี้การพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานควรมีแนวทางคือประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) การพัฒนาด้านความรู้ คือ ด้วยการการจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชันและเครื่องมือที่ซับซ้อนมากขึ้นและยังปิดกั้น ปกป้องการถูกตรวจสอบซึ่งโดยในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความรู้ในส่วนหนึ่งแล้ว แต่เนื่องด้วยปัจจุบันมีการกระทำความผิดแอปพลิเคชันที่ยังปิดกั้นการถูกตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิดที่มีการป้องกันการถูกตรวจสอบที่มากขึ้น 2) การพัฒนาด้านทักษะ ประกอบ การที่โดยหน่วยงานเชิญผู้ที่มีทักษะในด้านของการปฏิบัติงานมาอบรมให้ความรู้เพิ่มพูนดทักษะในการเก็บพยานหลักฐานจากช่องทางการกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นจากแอปพลิเคชันและเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด และทักษะของการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือพิเศษที่มีส่วนช่วยในการเก็บพยานหลักฐานทางดิจิทัลได้อย่างครบถ้วนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และ พร้อมกับการจัดตั้งกลุ่มไลน์และเชิญผู้ที่มีทักษะเข้ามาอยู่ในกลุ่มเพื่อตอบข้อสงสัย 3) การพัฒนาด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย โดยการจัดการอบรมจากหน่วยงานและการจัดทำคู่มือของการปฏิบัติงานในการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผู้วิจัยหวังว่าผลการศึกษานี้จะนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ทางเพศผ่านทางช่องทางออนไลน์ ต่อไป