dc.contributor.advisor |
พิมพ์สิริ อรุณศรี |
|
dc.contributor.author |
พวงรัตน์ สินศิริ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T08:22:40Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T08:22:40Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83336 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องการศึกษาปัจจัยที่ส่งต่อการใช้งานในระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM)กรณีศึกษา วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและจูงใจให้วิศวกรกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เข้าไปใช้งานระบบการจัดการความรู้ออนไลน์ของบริษัท (Betagro KM) และศึกษากระบวนการที่บริษัทใช้ในการผลักดันให้วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ใช้งานระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) อย่างจริงจังและเต็มรูปแบบ ทั้งนี้การวิจัยจึงแบ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็นสองส่วน กล่าวคือ วิศวกรผู้ใช้งานระบบ Betagro KM และ บุคลากรผู้ผลักดันให้สมาชิกในบริษัทยอมรับและใช้งานระบบ Betagro KM ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่จะทำให้ วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เข้าไปใช้งานระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) 3 อันดับแรกได้แก่ การประชาสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอและหลายช่องทาง (ร้อยละ 100) หัวข้อและรูปแบบการนำเสนอความรู้ที่มีความน่าสนใจ (ร้อยละ 62.50) และการเข้าถึงระบบได้ง่าย (ร้อยละ 62.50) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าหัวข้อความรู้ที่มีความน่าสนใจ การประชาสัมพันธ์ การแจกรางวัลต่างๆเป็นสามช่องทางหลักที่กลุ่มมวิศวกรมองว่าจะสร้างแรงจูงใจให้ตน เข้ามาใช้งานระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) สุดท้ายการศึกษากระบวนการในการผลักดันให้พนักงานเข้ามาใช้งานระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) พบว่าผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจนตั้งแต่กระบวนการจัดทำงานแผนงานไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ ทำให้วิศวกรมีทัศนคติที่ดีต่อการนำระบบมาใช้อย่างไรก็ตามผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองฝ่ายให้ความเห็นตรงกันว่าบริษัทควรเพิ่มช่องทางและความถี่ในการประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้การผลักดันการใช้ระบบ Betagro KM มีความต่อเนื่อง ตลอดจนการจัดให้มีโครงสร้างสนับสนุนการใช้งานระบบในการทำงานของวิศวกรเพื่อให้บริษัทเบทาโกรจำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน |
|
dc.description.abstractalternative |
This qualitative research sets out to understand influential factors to promote engineers’ active use of the Betagro Knowledge Management online platform as well as the process supporting this change and technological adoption. Primary and secondary sources of data were used. Interview from the Betagro KM users revealed that engineers in the Agro-industrial business group believe a continuous Betagro KM campaign communication to make the target users aware of the Betagro KM platform, attractive learning content and delivery, and accessibility are keys to promote more active use of the platform. In terms of change management process, Betagro executives displayed immense support to the Betagro KM dissemination announcement and activities. The company also has a group of change agents to support the change and technological adoption of the Betagro KM platform. Continuous communication and changes made to KM content and mode of delivery will be needed to support a full active use of the platform. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.275 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
ปัจจัยที่ส่งต่อการใช้งานในระบบการจัดการความรู้ (Betagro KM) กรณีศึกษา วิศวกร กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) |
|
dc.title.alternative |
The factors contributing to use of the organization's KM system among engineers: a case study of Betagro public company limited. |
|
dc.type |
Independent Study |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.IS.2022.275 |
|