DSpace Repository

การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์เพื่อส่งออกน้ำตาลด้วยตู้คอนเทนเนอร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
dc.contributor.author วิริญา ภานุพงษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2023-08-28T09:49:01Z
dc.date.available 2023-08-28T09:49:01Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83486
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกของระบบโลจิสติกส์ของการส่งออกน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์บรรจุกระสอบด้วยตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสมที่สุดโดยเปรียบเทียบในสี่ทางเลือก ระบบแรกที่ใช้อยู่ปัจจุบันคือการขนย้ายน้ำตาลไปจัดเก็บไว้เป็นสินค้าคงคลังเพื่อรอการส่งออกที่คลังสินค้าเช่าภายนอกที่อยู่ห่างไกลจากโรงงานและใช้รถหัวลากขนส่งตู้คอนเทนเนอร์มาบรรจุน้ำตาลที่คลังสินค้าเพื่อขนส่งนำไปท่าเรือแหลมฉบัง ระบบที่สองใช้รถหัวลากขนส่งตู้คอนเทนเนอร์มาบรรจุน้ำตาลที่โรงงานแล้วขนส่งนำไปท่าเรือแหลมฉบังระบบที่สามมีรูปแบบคล้ายกับระบบที่สองแต่ใช้การขนส่งทางรถไฟเพื่อนำตู้คอนเทนเนอร์มาบรรจุน้ำตาลที่โรงงานแล้วขนส่งนำไปท่าเรือแหลมฉบังด้วยรถไฟ และระบบที่สี่คือการขนย้ายน้ำตาลไปทำการบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์ที่คลังสินค้าภายนอกใกล้กับท่าเรือแหลมฉบังแล้วใช้รถหัวลากขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปท่าเรือแหลมฉบัง ผลการวิเคราะห์พบว่าทางเลือกที่มีต้นทุนโลจิสติกส์ต่ำที่สุดคือระบบที่สามที่ทำการบรรจุน้ำตาลเข้าตู้คอนเทนเนอร์ที่โรงงานแล้วขนส่งด้วยรถไฟไปท่าเรือ และทางเลือกที่มีต้นทุนทางโลจิสติกส์ที่น้อยที่สุดถัดมาได้แก่ระบบที่สี่ซึ่งนำน้ำตาลไปทำการบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่คลังสินค้าใกล้ท่าเรือ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบในเชิงระยะเวลาการขนส่ง ระบบที่สี่นั้นใช้ระยะเวลามากกว่าหนึ่งวันเพียงเล็กน้อยเพื่อขนส่งน้ำตาลกระสอบบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ไปท่าเรือหลังจากที่มีการแจ้งรับน้ำตาลจากสายเรือ ในขณะที่ระบบที่สามต้องใช้ระยะเวลาสี่วันและอาจพบความเสี่ยงจากการบริการของรถไฟที่ยังไม่มีความเสถียรเพียงพอ โดยสรุปแล้วในด้านต้นทุนโลจิสติกส์และระยะเวลาการขนส่งจึงเลือกใช้ระบบที่สี่ซึ่งเป็นระบบที่ดีที่สุด en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to identify the most suitable logistics system for containerized export of refined sugar by comparing four alternatives. The first system, currently in use, involves moving the product by truck at a remote rented warehouse where a stock of product is maintained awaiting the export order. Once the order is released, the product will be later loaded into the containers at this remote warehouse and moved the containerized cargo by truck to Laem Chabang Port. The second system involves loading the product into containers at the factory and then transporting them by truck to Laem Chabang Port. The third system is similar to the second system except that containerized sugar will be transported to the port by rail. The fourth system moves the product to a warehouse near the port to load the product into containers and transports the containerized sugar over a short distance to the port by truck. The analysis reveals that the alternative with the lowest total logistics cost is the third option in which containers are stuffed at the factory and transported by rail to the port. The second least cost system is the fourth one which involves stuffing containers at a warehouse near the port. However, in term of transit time, the fourth alternative requires a little more than a day of transit time from the time the order is released till the containerized cargo reaches the port while the third alternative requires four days and will likely encounter risks caused by the undependability of rail service. Considering both logistics cost and transit time, the fourth alternative is the best system. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.215
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การบริหารงานโลจิสติกส์ en_US
dc.subject ระบบขนส่งคอนเทนเนอร์ en_US
dc.subject Business logistics en_US
dc.subject Containerization en_US
dc.title การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์เพื่อส่งออกน้ำตาลด้วยตู้คอนเทนเนอร์ en_US
dc.title.alternative Improvement of logistics system for containerized sugar export en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2022.215


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record