dc.contributor.author |
ศิริพร ทองแก้ว |
|
dc.contributor.author |
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-01T04:37:11Z |
|
dc.date.available |
2023-09-01T04:37:11Z |
|
dc.date.issued |
2565-01 |
|
dc.identifier.citation |
Journal of Information and Learning [JIL] 33,1 (ม.ค.-เม.ย. 2565) หน้า 113-122 |
en_US |
dc.identifier.issn |
2730-2202 (Online) |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83506 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา และความต้องการเรียนรู้การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยของเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กอายุ 8-12 ปี จาก 27 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค จำนวน 6,694 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถานการณ์ปัจจุบันด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นของตนเอง กิจกรรมขณะใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ การเล่นเกม โดยช่วงเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต คือ ช่วงหลังเลิกเรียน ส่วนสถานที่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ ที่บ้าน 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ การดาวน์โหลดรูป เกม หนัง เพลง และข้อความจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ทราบว่ามีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา คือ การได้รับคำแนะนำจากครูและการชักชวนของเพื่อน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากผู้ปกครองมากที่สุด โดยการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านการดูคลิปจากยูทูบและการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were 1) to study current situations, problems and their related factors, and 2) to identify the needs of children about how to stay safe online. The sample consisted of 6,694 children aged 8 to 12 from 27 provinces across the country that represent each region of Thailand. The data were collected by rating scale questionaries. Descriptive statistics and multiple regression were used for data analysis.
The results showed that most of the children had their own telephone or tablet that can connect to the internet. Their frequent internet activity is playing games at home after school. They downloaded images, games, movies, music and texts from the internet without being aware of copyright. The related factors to this problem were the advice of teachers and their friends. Moreover, the children wanted to learn how to be safe online from their parents at home and by searching information on the internet. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
en_US |
dc.relation.uri |
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/254901 |
|
dc.rights |
Journal of Information and Learning [JIL] |
en_US |
dc.title |
การศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยของเด็ก |
en_US |
dc.title.alternative |
A study of current situations, problems and related factors of internet safety for children |
en_US |
dc.type |
Article |
en_US |