dc.contributor.author |
รัชนี นกเทศ |
|
dc.contributor.author |
ชาริณี ตรีวรัญญู |
|
dc.contributor.author |
ยศวีร์ สายฟ้า |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-01T04:55:11Z |
|
dc.date.available |
2023-09-01T04:55:11Z |
|
dc.date.issued |
2565-09 |
|
dc.identifier.citation |
Journal of Information and Learning [JIL] 33, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565) หน้า 60-72 |
en_US |
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83508 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู และศึกษาผลของการใช้กระบวนการที่พัฒนาขึ้น การวิจัยและพัฒนานี้มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการฉบับร่าง ระยะที่ 3 การวิจัยเพื่อทดลองใช้กระบวนการ และระยะที่ 4 การพัฒนากระบวนการฉบับสมบูรณ์ กรณีศึกษาเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 10 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ Wilcoxon Matched Pairs Sign-Rank Testและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยสรุปได้ว่ากระบวนการนิเทศการสอนที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการเป็น 3 วงจร โดยในแต่ละวงจรมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1 สร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาครูตระหนักในเป้าหมายการสอน 2 สังเกตชั้นเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ 3 เสริมพลังการเรียนรู้สู่การนำตนเอง ซึ่งกระบวนการที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้นักศึกษาครูมีค่าเฉลี่ยคะแนนชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนในช่วงหลังเข้าร่วมกระบวนการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และโดยภาพรวมนั้นนักศึกษาครูทุกคนแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนชัดเจนมากขึ้นทั้งพฤติกรรมที่สะท้อนถึงแนวความคิดต่อนักเรียน และแนวความคิดต่อตนเองในฐานะครู |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this study were to develop an instructional supervision process based on the feedback approach to enhance growth mindset in instruction of pre-service teachers and to study the effect of the process. The study consisted of four stages: 1) researching conditions and problems in pre-service teachers’ instruction management, 2) developing a draft of instructional supervision process, 3) testing the process, and 4) developing a complete process. Participants were 10 undergraduate students, majoring in Primary Education who were selected by purposive sampling technique. The research instruments were an assessment scale of the growth mindset in instruction of pre-service teachers, an instructional behavior observation form and an informal interview form. The quantitative data were analyzed by using the Wilcoxon matched-pairs signed rank Test and the qualitative data were analyzed by using a contents analytics technique.
The results can be concluded that the developed instructional supervision process consisted of three steps: 1) inspiring pre-service teachers to realize their teaching goals, 2) observing classes and exchanging experiences, and 3) enhance learning for self-improvement. The developed process positively affected pre-service teachers' average scores in the assessment scale of the growth mindset in instruction of pre-service teachers; the post-participation process was significantly higher than before at the 0.05 level. Overall, all pre-service teachers clearly exhibited behavior that reflected the growth mindset in instruction, both the behaviors that reflected the ideas of the students and themselves as teachers. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
en_US |
dc.relation.uri |
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/257385 |
|
dc.rights |
Journal of Information and Learning [JIL] |
en_US |
dc.title |
การพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู |
en_US |
dc.title.alternative |
Development of an Instructional Supervision Process Based on the Feedback Approach to Enhance Growth Mindset in Instruction of Pre-Service Teachers |
en_US |
dc.type |
Article |
en_US |
dc.identifier.DOI |
2730-2202 (Online) |
|