Abstract:
โครงสร้างประชากรของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงอุบัติการณ์ของโรค ความหนาแน่นของพาหะนำโรค และการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชาชน การศึกษานี้แสดงให้เห็นโครงสร้างของประชากรเชื้อมาลาเรียในสี่งจังหวัดซึ่งมีเขตติดต่อกับชายแดนไทย-เมียนมา ไทย-กัมพูชา ไทย-มาเลเซีย ได้แก่ จังหวัดตาก กาญจนบุรี ศรีสะเกษและยะลา ตามลำดับ โดยวิเคราะห์ด้วยไมโครแซทเทลไลท์ จำนวน 10 ตำแหน่ง พบว่าประชากรเชื้อมาลาเรียในจังหวัดตาก กาญจนบุรีและศรีสะเกษ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมในระดับปานกลาง ส่วนประชากรเชื้อมาลาเรียในจังหวัดยะลามีความหลากหลายทางพันธุกรรมในระดับต่ำ นอกจากนั้นยังพบความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากรเชื้อมาลาเรียจากพื้นที่ทั้งสี่จังหวัด โดยประชากรเชื้อมาลาเรียจากจังหวัดยะลามีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับประชากรเชื้อมาลาเรียจากจังหวัดอื่น ๆ ในระดับสูงมาก พบลักษณะการผสมพันธุ์ในประชากรเชื้อเดียวกันในประชากรเชื้อจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดยะลา แต่ไม่พบลักษณะดังกล่าวในจังหวัดตากและศรีสะเกษ สำหรับความไวต่อยาชองเชื้อมาลาเรียสามารถทำการทดสอบได้เฉพาะเชื้อจากจังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น