Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความแตกต่างกันระหว่างรูปแบบการคบหาสมาคมกับกลุ่มที่เป็นสื่อในการปรับตัวของผู้ย้ายถิ่นชายและหญิงที่เข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครอย่างไม่มีทางเลือก อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดและประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ชีวิตเมืองแล้ว โดยพิจารณาสิ่งที่แต่ละฝ่ายได้รับหรือเรียนรู้จากกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัว และค้นหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มกิจกรรมที่ผู้ย้ายถิ่นแต่ละฝ่ายเข้าร่วมโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ ลักษณะการดำเนินการ และกิจกรรมของกลุ่มที่ผู้ย้ายถิ่นชายและหญิงสนใจ โดยมุ่งเน้นประสบการณ์ของผู้ย้ายถิ่นที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร กล่าที่เป็นสื่อ 5 กลุ่มที่ผู้ย้ายถิ่นที่ประสบความสำเร็จคบหาสมาคมมีลักษณะต่อเนื่องกันไปตั้งแต่ลักษณะรวมหมู่ (communal) ซึ่งมีการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการ จำกัดอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง จนถึงลักษณะคบหาสมาคม (association) ที่มีรวมตัวอย่างเป็นทางการ ไม่มีการจำกัดคนที่เข้ามาร่วมกลุ่ม งานวิจัยนี้ใช้วิธี Survey Research และ Structured Interview ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่ามีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยระหว่างรูปแบบการคบหาสมาคมกับกลุ่มญาติและเพื่อนฝูง ในเรื่องความช่วยเหลือทางด้านที่อยู่อาศัย ทั้งสองฝ่ายอาศัยกับกลุ่มญาติในตอนเริ่มอพยพเข้ามาก่อนที่จะแยกตัวออกไปเมื่อได้งานที่ดีขึ้นหรือมีครอบครัวแล้ว ในเรื่องการหางานทำนั้นผู้ย้ายถิ่นหญิงได้รับความช่วยเหลือจากลุ่มญาติในระยะแรก ก่อนที่จะหางานต่อ ๆ ไปด้วยตนเอง สำหรับผู้ย้ายถิ่นชายนั้นหางานเองโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้น ผู้ย้ายถิ่นทั้งชายและหญิงเรียนรู้การใช้ชีวิตเมืองด้วยตนเองมากกว่าจากลุ่มญาติหรือเพื่อน นอกจากนี้ผลการวิจัยยังชี้ว่าผู้ย้ายถิ่นชายและหญิงส่วนใหญ่เข่าวมกลุ่มกิจกรรมภายในชุมชนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มกิจกรรมที่ผู้ย้ายถิ่นชายและหญิงเข้าร่วม คือเป็นกลุ่มที่รัฐให้การสนับสนุนมากที่สุด มีกิจกรรมเกี่ยวกับการออมเงินและปล่อยให้แก่สมาชิกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และผลประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมคือ ได้รู้จักคนมากขึ้น มีเงินออม และมีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ