dc.contributor.author |
ดูบาส, สเตฟอน |
|
dc.contributor.author |
ลักษณา ดูบาส |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-22T08:31:15Z |
|
dc.date.available |
2023-09-22T08:31:15Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83576 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาวิธีการเตรียมฟิล์มเคลือบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่มีคุณสมบัติที่รับประทานได้ และสามารถเติมสารอาหารชนิดต่างๆ ลงไป โดยพอลิเมอร์ที่จะนำมาเตรียมเป็นฟิล์มนี้ได้แก่ เจลาติน ไคโตซาน อัลจิเนตส่วนที่หนึ่ง งานวิจัยนี้แสดงการเตรียมอิมัลชันระบบน้ำมันในน้ำที่เคลือบด้วยพอลิอิเล็กโทรไลต์สามและสี่ชั้น รวมทั้งการเพิ่มเสถียรภาพต่อการเกิดออกซิเดชันและการเกิดครีมของโอเมกา-3 อิมัลชัน อิมัลชันเคลือบสามชั้นสามารถเตรียม โดยเคลือบอิมัลชันสองชั้นด้วยอัลจิเนต (พอลิอิเล็กโทรไลต์ที่มีประจุลบ) อิมัลชันเคลือบสี่ชั้นของ เคซีน-PDADMAC-อัลจิเนต-PDADMAC ในการติดตามอัตราการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของน้ำมันทูนานั้นด้วยการวัดปริมาณ hydroperoxide โดยอาศัยการเกิดปฏิกิริยากับ derric thiocyanate โดยเครื่อง UV-Vis จากผลการทดลองพบว่าอิมัลชันซึ่งมีสารพอลิอิเล็กโทรไลต์หลายชั้นเคลือบบนหยดน้ำมันสามารถเพิ่มเสถียรภาพต่อการเกิดครีม รวมทั้งเสถียรภาพต่อการเกิดออกซิเดชันของน้ำมันได้ โดยความเสถียรต่อการเกิดออกซิเดชันเฉลี่ยมีค่าเพิ่มขึ้นในวันที่ 4 และ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับ primary emulsion ในกรณีชองอิมัลชันเคลือบสองชั้นและสี่ชั้น สามารถป้องกันอนุภาคน้ำมันจากตัวออกซิไดซ์ได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับชนิดอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากจำนวนชั้นเคลือบที่มากขึ้นส่งผลให้ชั้นเคลือบมีความหนามากขึ้นรวมทั้งอิทธิพลของประจุบวกที่ล้อมรอบอนุภาคน้ำมันซึ่งผลักกับไอออนของโลหะที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ นอกจากนี้ได้ศึกษาความเสถียรต่อการเกิดครีมของอิมัลชันเคลือบสอง, สาม และสี่ชั้น พบว่าอิมัลชันเหล่านี้เกิดครีมได้น้อยกว่าอิมัลชันปฐมภูมถึง 29.8, 45.7 และ 65.4% ตามลำดับ ส่วนที่สอง ในการศึกษาส่วนนี้ทำการศึกษาการหลุดออกของเฟอรัสไอออนจากฟิล์มที่เตรียมจากไบโอพอลิเมอร์กลับลงไปในน้ำ ซึ่งทำการหาปริมาณของเฟอรัสไอออนโดยอาศัยการเกิดปฏิกิริยาเชิงซ้อนกับแอมโมเนียไธโอไซยาไนน์ จากผลการทดลองพบว่าการหลุดออกของเฟอรัสไอออนจากฟิล์มไคโคซานมีค่าน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอัลจิเนต หรือเจลาตินฟิล์ม ทั้งนี้อาจเนื่องจากอัตราการบวมน้ำของไคโตซานต่ำกว่าพอลิเมอร์อีกสองชนิด นอกจากนี้ยังได้ศึกษาอิทธิพลของความเข้มข้นต่อการหลุดออกของไอออน พบว่าปริมาณหลุดออกจากฟิล์มที่เตรียม จากสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงมีค่าน้อยกว่าจากฟิล์มที่เตรียมจากความเข้มข้นน้อย สำหรับอัลจิเนต และเจลาตินฟิล์ม แต่แนวโน้มดังกล่าวไม่สังเกตเห็นในไคโตซานฟิล์ม จากการศึกษาผลของการทำ crosslink ต่อการหลุดออกของเฟอรัสไอออนพบว่ายังต้องมีการพัฒนาต่อไปเนื่องจากผลที่ได้แตกต่างกันค่อนข้างน้อย ซึ่งต้องดำเนินการทดลองในระยะเวลาที่นานกว่า 30 นาที ส่วนที่สาม คณะผู้วิจัยศึกษาผลของฟิล์มไคโตซานต่อการยืดอายุของผลิตภัณฑ์ โดยทำการวัดน้ำหนักที่หายไปของน้ำจากผลไม้ที่เคลือบด้วยฟิล์มไคโตซานเปรียบเทียบกับผลไม้ที่ไม่ได้เคลือบด้วยฟิล์มไคโตซานเป็นเวลา 7 วัน ซึ่งพบว่าไคโตซานฟิล์มที่เตรียมจากสารละลายพอลิเมอร์ 2% โดยน้ำหนัก และผ่านปฏิกิริยา crosslink ด้วย sodium citrate สามารถลดการสูญเสียน้ำได้ 10% นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้พัฒนาวิธีการดัดแปรพื้นผิวของผลไม้โดยปรับให้มีความชอบน้ำมากขึ้นเพื่อให้เหมาะต่อการเคลือบด้วยไคโตซานอีกชั้นหนึ่ง โดยการดัดแปรพื้นผิวนี้ใช้วิธีการทับถมของสารละลายพอลิอิเล็กโทรไลต์รวมกันเป็นฟิล์มที่เรียกว่า พอลิอิเล็กโทรไลต์มัลติเลเยอร์บนพื้นผิวผลไม้ ค่ามุมสัมผัสเป็นค่าที่ใช้ในการบ่งบอกถึงคุณสมบัติความชอบหรือไม่ชอบน้ำของพื้นผิว จากผลการทดลองพบว่าผลไม้ที่เคลือบด้วยพอลิอิเล็กโทรไลต์มัลติเลเยอร์ที่มีความหนา 8 ชั้น มีพื้นผิวที่มีความชอบน้ำมากขึ้น และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเคลือบด้วยไคโตซานได้ดี |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
In this year, we have conducted our research on three different aspects. Part I, we developed a preparation method for oil-in-water emulsion coated with tertiary and quaternary polyelectrolyte layers and their improvement on the oxidation and creaming stability of omega-3 oil-in-water emulsions. The tertiary emulsions were prepared by coating secondary emulsion with alginate (polyanonic). Last, the quaternary emulsion coated with casein-PDADMAC-alginate-PDADMAC could be synthesized. Oxidative stability of the tuna oil emulsions was measured by using UV-Vis spectroscopy via ferric thiocyanate method. Physical and oxidative stability of the multiayer emulsions were found to be improved when compared with primary emulsions were found to be improved when compared with primary emulsions. Multilayer emulsions could increase the oxidative stability over primary emulsion at day 4 and 5 storage. This is because the thicker layer of multilayer emulsions and the cationic charge on the droplet of secondary and quaternary emulsion can prevent the droplet from the oxidants. The creaming stability of secondary, tertiary and quaternary emulsion was also increased around 29.78, 45.70 and 65.38% compared to the primary casein emulsion at day 7 of storage. Part II, the leaching of added ferrous ion (Fe[super script 2+]) in the prepared biopolymer film back into aqueous phase was evaluated based on the complexation with NH₄SCN. We found that the amount of leaching ferrous ions from chitosan film was smallest compared to alginate and gelatin films. This phenonmenon is the result of swollen rate of chitosan is slowest. The effect of polymer concentration on the leaching amount was also investigated. The ferrous ions leaching from the higher concentration polymer film were smaller than the one prepared from the lower concentration. This trend was observed from alginate and gelatin films whereas the leaching of ions from chitosan film was independent from polymer concentration. Chitosan film was also crosslinked with sodium citrate to decrease the leaching where we found a slightly different result between non-crosslink and crosslinked polymer films. Part III, the objectives of this part was to investigate whether the bio-coating could act a barrier and prevent the water loss when compare with uncoated fruits. Shelf life was monitored by collecting percent weight loss of coated fruits for 7 days. In comparison with uncoated fruits, the 2%w of crosslinked-chitosan film (Mw 58,000 g/mol) showed the best performance on decreasing the weight loss by 10%. Last, a method for the surface modification of fruit was developed to increase the hydrophilicity of surface. The benefit of changing the surface properties of the coated item is to improve the coating efficiency of chitosan. The method used is based on the deposition of polyelectrolytes solutions on the fruit surface. The hydrophilic property was evaluated by measuring the contact angle values of coated fruit surface. It can be seen that with the deposition of only 4 bilayers of polyelectrolytes, the surface contact angle is hydrophilicity, which could improve the chitosan coating very well. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2552 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ฟิล์มบาง |
en_US |
dc.subject |
สารเคลือบบริโภคได้ |
en_US |
dc.subject |
ผลไม้ |
en_US |
dc.subject |
อาหารเพื่อสุขภาพ |
en_US |
dc.subject |
Thin films |
en_US |
dc.subject |
Edible coatings |
en_US |
dc.subject |
Fruit |
en_US |
dc.title |
ผลไม้เพื่อสุขภาพที่เคลือบเกลือแร่และวิตามินสำหรับผู้สูงอายุ : รายงานการวิจัย |
en_US |
dc.title.alternative |
Fruit coated mineral supply for healthy aging |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |