DSpace Repository

ตลาดการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560: ตลาดนโยบายในคราบตลาดอุดมการณ์

Show simple item record

dc.contributor.author ปวร เกียรติยุทธชาติ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-25T06:28:20Z
dc.date.available 2023-09-25T06:28:20Z
dc.date.issued 2565-01
dc.identifier.citation วารสารรัฐศาสตร์นิเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2565) หน้า 41-106 en_US
dc.identifier.issn 2465-4043
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83588
dc.description.abstract ภายใต้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญที่มองว่าระบบการเมืองเป็น ‘ตลาด’ (Markets) ในรูปแบบหนึ่ง และเชื่อว่าตัวแสดงทางการเมืองต่างประพฤติตนตามทฤษฎีการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือส่งผ่าน ‘แรงจูงใจ’ ไปยังตลาดการเมืองและตัวแสดงทางการเมือง การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รวมไปถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญจึงย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในตลาดการเมือง จากเดิมซึ่งเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายที่มีผู้ขายหลักเพียงสองรายสู่การกลายสภาพเป็นตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก ผ่านการสร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของพรรคการเมือง ด้วยกำหนดระเบียบวิธีการเลือกตั้งให้ลดอรรถประโยชน์ของพรรคการเมืองพรรคหนึ่งและเอื้อประโยชน์ให้แก่พรรคการเมืองพรรคหนึ่งเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมุ่งเปลี่ยนแปลงเป้าประสงค์ของตลาดการเมืองด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการทำลายความเป็นตลาดนโยบายของตลาดการเมืองและการทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนในตลาดการเมืองมิอาจทำให้ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับอรรถประโยชน์สูงสุดทั้งจากนโยบายระดับเขตเลือกตั้งและนโยบายระดับชาติตามที่ตนต้องการแก่ประการใด ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดการเมือง โดยเฉพาะผลกระทบต่อการตัดสินใจของตัวแสดงทั้งหมดในตลาดการเมืองไม่ว่าจะเป็นราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นักการเมืองและพรรคการเมือง ต่อเนื่องไปถึงพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมือง อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพในตลาดการเมือง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทำให้ตลาดการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แปรสภาพจากการเป็น ‘ตลาดนโยบาย’ เฉกเช่นตลาดการเมืองทั่วไป ไปสู่รูปแบบของ ‘ตลาดอุดมการณ์’ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะของตนและแตกต่างจากกรณีโดยทั่วไป en_US
dc.description.abstractalternative Under the framework of Constitutional Economics, seeing the political system as a market and believing that political actors are rational. The constitution acted as a tool for transferring preference between political markets and political actors. The promulgation of the 2017 Constitution of the Kingdom of Thailand and its subsidiary has transformed the Thai political market, Converting from a duopoly market into a semi-competitive oligopoly market with a large number of sellers. These changes are a result of barriers to entry into the election market by establishing the election method that reduces the utility of political parties and beneficial to a specified political party. Besides, the constitution aims to change the objectives of the political market as well, the destruction of the ‘policy market’ and the exchange process in political markets that the voters may not get the most utility, both from the micro-level constituency policy and the macro-level national policy as before. With the reasons mentioned above, changing the constitution is inevitable affects the political market. This change has caused the political market under the 2017 Constitution of the Kingdom of Thailand to change from a ‘policy market’ into the form of ‘Ideology Market’ that has its characteristics and differentiate from general cases. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ en_US
dc.relation.uri https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RatthasatNithet/issue/view/17261/4834
dc.rights คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ en_US
dc.title ตลาดการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560: ตลาดนโยบายในคราบตลาดอุดมการณ์ en_US
dc.title.alternative Political Markets under the 2017 Constitution of Thailand: The Policy Markets within the Ideology Markets en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Thai Journal Article [90]
    บทความวารสารภาษาไทยจากฐานข้อมูลออนไลน์ Free Open Access

Show simple item record