Abstract:
ความหลากหลายทางชีวภาพในดินรวมทั้งไรในดินมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศโดยเฉพาะในกระบวนการย่อยสลาย การวิจัยครั้งนี้ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยต่อเนื่องเรื่อง ศักยภาพของไรในดิน การใช้เป็นดัชนีชี้วัดและติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความหลากหลายและอนุกรมวิธานของไรในดินในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สนองพระราชดำริโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (พื้นที่โครงการ อพ.สธ.-กฟผ.) ภาคตะวันตก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์) โดยได้สำรวจเก็บตัวอย่างไรในดินในพื้นที่ รวมทั้งรวบรวมตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเชิงอนุกรมวิธาน ระหว่างเดือนตุลาคม 2559-กันยายน 2560 พบไรในดินอย่างน้อย 76 ชนิดสัณฐาน (Morphospecies) ใน 65 สกุล (genus) 41 วงศ์ (family) และ 4 อันดับ (order) แบ่งเป็นไรกลุ่ม (suborder) Oribatida มากที่สุด (คิดเป็น 77% ของชนิดสัณฐานทั้งหมด) รองลงมาได้แก่ไรกลุ่ม Prostigmata (15%) และที่เหลือรวมกันอีกเพียบ 5% และพบไรที่อาจจะเป็นชนิดใหม่และชนิดบันทึกใหม่ได้แก่ไรตัวห้ำ Tarsotomus sp. (วงศ์ Erythracaridae) และ Tanytydeus sp. (วงศ์ Paratydeidae) ข้อมูลทางอนุกรมวิธานของไรแต่ละชนิดสัณฐานคือคำบรรยายลักษณะ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์และแนวทางการวินิจฉัย เป็นต้น จะได้เผยแพร่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป