Abstract:
การศึกษาและสำรวจหอยทากบกในพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ พระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน ในสภาพพื้นที่ธรรมชาติ มุ่งเน้นที่กลุ่มหอยขัดเปลือกที่พบได้ทั่วไปวงศ์ Ariophantide โดยมี หอยหอยขัดเปลือกที่จัดได้ว่าพบได้ทั่วไปและมีการแพร่กระจายกว้างทั่วประเทศไทย 2 สปีชีส์ คือหอย ทากสยาม Cryptozona siamensis และหอยขัดเปลือกธรรมดา Sarika resplenden จากเอกสารที่ รายงานเกี่ยวกับหอยในวงศ์นี้ในพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยและมีแนวโน้มที่จะพบวงศ์หอยขัดเปลือก ในประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 60 สปีชีส์ โดยในพื้นที่ อพ.สธ. ทั้งในภาคตะวันออกและภาคตะวันตกพบ แล้วประมาณ 12-15 สปีชีส์ แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถตรวจหาชื่อวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งจากการศึกษากาย วิภาคระบบสืบพันธุ์ในขั้นต้นของกลุ่มหอยวงศ์หอยขัดเปลือกที่สามารถตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ได้ 12 สปีชีส์ พบว่าส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ในหอยเดื่อ “Hemiplecta” weinkauffiana มีลักษณะ สัณฐานที่แตกต่างจากของวงศ์ Ariophantidae แต่เหมือนกับเวียนซ้ายวงศ์ Dyakiiade นอกจากนี้ยัง พบหอยเดื่อดำ Hemiplecta funerea ที่เป็นหอยเฉาพะถิ่นพบที่จังหวัดน่าน ซึ่งมีรายงานครั้งแรกเมื่อปี 1896 (พ.ศ. 2439) ที่ประเทศไทย และหลังจากนั้นก็ไม่เคยมีรายงานอีกจนกระทั่งการศึกษาในกครั้งนี้ ซึ่งเป็นประเด็นทางอนุกรมวิธานที่สำคัญที่จะรายงานการค้นพบอีกครั้ง