Abstract:
งานวิจัยในเฟสที่สองนี้ได้ทำการศึกษาสังเคราะห์เอมีดอกซิมพอลิเมอร์เจลเพื่อดูดจับยูเรเนียมในน้ำทะเล โดยศึกษาชนิดของโคมอนอเมอร์ (อะคริโลไนไตรล์/เมทาคริลิค แอซิด และ อะคริโลไนไตรล์/อะคริลิค แอซิด) ชนิดของสารเชื่อมโยง (เมทิลีนบิสอะคริลาไมด์, กลูตาราลดีไฮด์ และ บิวเทนไดออล ไดอะคริเลท) ผลของระยะเวลาการสดักยูเรนียมออกจากตัวดูดจับ ประสิทธิภาพการใช้ซ้ำของตัวดูดจับ อีกทั้งยังทำการศึกษาผลการดูดจับยูเรเนียมจากน้ำทะเลในสภาวะตามธรรมชาติและในน้ำทะเลเข้มข้น เพื่อการสังเคราะห์พอลิเมอรืเจลที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการนำไปดูดจับยูเรเนียมในน้ำทะเล ผลการศึกษาพบว่า โคมอนเมอร์ที่สามารถจับยูเรเนียมได้ดีที่สุด คือ อะคริโลไนไตรล์/เมทาคริลิคแอซิด สารเชื่อมโยงที่ใช้ในการสังเคราะห์เอมีดอกซิมพอลิเมอร์เจลที่ทำให้สามารถดูดจับยูเรเนียมได้ดีที่สุดคือเมทิลีนบิสอะคริลาไมด์และบิวเทนไดออล ไดอะคริเลท สามารถดูดจับยูเรเนียมได้ดีและให้ผลการดูดจับที่ใกล้เคียงกัน ผลของระยะเวลาการสกัดยูเรเนียมออกจากตัวดูดจับพบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสกัด คือ 2 ชั่วโมง ส่วนการทดสอลประสิทธิภาพการใช้ซ้ำพบว่า เมื่อใช้ตัวดูดจับซ้ำเป็นจำนวน 8 ครั้งประสิทธิภาพการดูดจับยูเรเนียมลดลงประมาณ 50% เมื่อเทียบกับการใช้ครั้งแรก การทดสอบประสิทธิภาพของตัวดูดจับโดยการนำตัวดูดจับไปจุ่มแช่ในบริเวณน้ำทะเลในสภาวะธรรมชาติและน้ำทะเลเข้มข้น ที่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เป็นเวลา 2-8 สัปดาห์ พบว่า เมื่อนำตัวดูดจับไปจุ่มในบริเวณน้ำทะเลธรรมชาติ ปริมาณยูเรเนียมเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาจุมแช่ที่นานขึ้นสูงสุดที่ 8 สัปดาห์ และปริมาณยูเรเนียมที่ดูดจับได้สูงสุด คือ 0.125 mg/g และเมื่อนำตัวดูดจับไปจุ่มแช่ในบริเวณน้ำทะเลเข้มข้น พบว่าปริมาณการดูดจับยูเรเนียมเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการจุมแช่เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการไหลของน้ำทะเลเข้มข้นที่ผ่านตัวดูดจับเป็นปัจจัยสำคัญมากที่ส่งผลต่อปริมาณยูเรเนียมที่ดูดจับได้ โดยที่อัตราการไหลประมาณ 18 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ปริมาณยูเรเนียมที่ดูดจับได้สูงสุด คือ 0.30 mg/g ที่ 8 สัปดาห์