Abstract:
การศึกษาโครงสร้างของสังคมพืชในป่าเต็งรังตามธรรมชาติและพื้นที่ฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ฟื้นฟูด้วยการปลูกต้น กล้าสักสยามินทร์ และพื้นที่ฟื้นฟูด้วยต้นกล้าวงศ์ยางนาที่ชุบรากในเชื้อไมคอร์ไรซา ในพื้นที่ป่าเต็งรัง ทุติยภูมิ มี รัง (Shorea siamensis) เป็นชนิดเด่น ไม้ยืนต้นที่พบส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก การติดตามศึกษา ตั้งแต่ปี 2557-2561 แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ป่ากำลังมีการฟื้นตัวแต่มีข้อจำกัดของการเพิ่มขึ้นของไม้ยืนต้น ต้นกล้าสัก และต้นกล้าวงศ์ยางนาในแปลงปลูกมีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากและความสูง การติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมพืชใช้เป็นตัวชี้วัดแสดงถึงผลของการฟื้นฟูระบบนิเวศ อีกทั้ง สัตว์ในดินที่พบในแปลงศึกษาอาจใช้เป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติมได้