DSpace Repository

พฤติกรรมและนิเวศวิทยาบางประการของค้างคาวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : รายงานผลการดำเนินงาน

Show simple item record

dc.contributor.author ธงชัย งามประเสริฐวงศ์
dc.contributor.author อาจอง ประทัตสุนทรสาร
dc.contributor.author กษิดิศ ริสอน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-29T04:02:11Z
dc.date.available 2023-09-29T04:02:11Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83650
dc.description โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.description.abstract จากการติดตามขนาดโคโลนีค้างคาวปีกถุงเคราดำ Taphozous melanopogon ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 จนถึงเมษายน 2559 รวมระยะเวลา 16 เดือน พบว่า โคโลนีเกาะขามมีจำนวนค้างคาวเฉลี่ย 276 ตัว (อยู่ในช่วง 195 ถึง 340 ตัว) และโคโลนีเกาะฉางเกลือมีจำนวนค้างคาวเฉลี่ย 160 ตัว (อยู่ในช่วง 120 ถึง 201 ตัว) ขนาดโคโลนีของค้างคาวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงระยะเวลาที่ศึกษา โดยจะมีปริมาณสูงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จากการทำเครื่องหมายและจับซ้ำพบจำนวนค้างคาวที่ถูกจับซ้ำน้อยมาก (<5%) แสดงว่าโคโลนีค้างคาวที่ทำการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของประชากรขนาดใหญ่ที่มีการเคลื่อนย้ายแหล่งเกาะนอนค่อนข้างบ่อย และไม่พบค้างคาวชนิดอื่นมาอาศัยอยู่ร่วมกับค้างคาวปีกถุงเคราดำในถ้ำที่ศึกษา โดยพบค้างคาวปีกถุงเคราดำโตเต็มวัยเพศเมียแสดงภาวะตั้งท้องในเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พบค้างคาวเพศเมียในระยะให้นมลูกในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน และจะพบค้างคาววัยอ่อนและวัยอ่อนตอนปลายในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม en_US
dc.description.abstractalternative Colony sizes of black-bearded tomb bat Taphozous melanopogon at the area of Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, Samaesan Islands, Sattahip, Chonburi province were monitored between January 2015 and April 2016. Average colony sizes were 276 individuals (range = 195-340) at Kham Island and 160 individuals (range = 120-201) at Changkleua Island. Colony sizes were fluctuated all year round and reach the peak in November-January. From mark and recapture, low recapture rate (<5%) suggested that both colonies were parts of large population with high movement between subpopulations. No other bat species was found in the same caves with black-bearded tomb bat in the study area. Pregnant females were found in April and May. Lactating females were found in May and June. Juveniles and Late Juveniles were found from June to December en_US
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2560 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ค้างคาว -- พฤติกรรม en_US
dc.subject สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม -- พฤติกรรม en_US
dc.subject นิเวศวิทยาสัตว์ en_US
dc.subject Bats -- Behavior en_US
dc.subject Mammals -- Behavior en_US
dc.subject Animal ecology en_US
dc.title พฤติกรรมและนิเวศวิทยาบางประการของค้างคาวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : รายงานผลการดำเนินงาน en_US
dc.title.alternative Behaviour and ecology of bats and small mammals in the RSPG area en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record