dc.contributor.author |
ไศลทิพย์ จารุภูมิ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-10-02T09:49:56Z |
|
dc.date.available |
2023-10-02T09:49:56Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83670 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง “ภาพยนตร์สั้นไทย” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513- พ.ศ. 2548 มุ่งศึกษาพัฒนาการของภาพยนตร์ที่ถูกผลิตนอกระบบอุตสาหกรรมภาพยนตร์กระแสหลักในสังคมไทย ทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบ รวมถึงกระบวนการเคลื่อนไหวของภาพยนตร์สั้นภายใต้บริบทของสังคมไทยอันเป็นประโยชน์ในการเพิ่มความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยในส่วนของภาพยนตร์สั้น ที่ได้สะท้อนภาพความเป็นไปของยุคสมัยต่าง ๆ ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ในการศึกษาการวิเคราะห์เนื้อหาของภาพยนตร์สั้นในประเทศไทยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ทั้งในส่วนของบริบทล้อมรอบ (contextual analysis) และการวิเคราะห์ในส่วนเนื้อหา (textual analysis) สั้นที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2548 จำนวน 516 เรื่อง, การศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้กำกับภาพยนตร์สั้นจากยุคสมัยต่าง ๆ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์สั้นในสังคมไทยนั้นได้ดำรงฐานะของความเป็นสื่อและผลผลิตทางวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละยุคสมัย อีกทั้งฐานะของภาพยนตร์สั้นในสังคมไทยก็เปลี่ยนแปลงไปตามมุมมองและเจตนาของผู้ที่ผลิตขึ้นมาทั้งสื่อการให้ความบันเทิง, เครื่องมือในการต่อสู้และช่วงชิงทางวัฒนธรรม อุดมการณ์ และการเมืองตลอดจนบันทึกทางประวัติศาสตร์ และงานศิลปะ พัฒนาการของภาพยนตร์สั้นในประเทศไทยจากจุดเริ่มต้นในฐานะของภาพยนตร์สมัครเล่นเพื่อสร้างความบันเทิงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พัฒนาการของภาพยนตร์สั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลาที่สำคัญ ประกอบด้วย ยุคที่หนึ่งเป็นยุคบุกเบิกภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490- พ.ศ. 2516 ที่มีสำนักข่าวสารอเมริกันเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวที่สำคัญ ภาพยนตร์สั้นในช่วงเวลานี้อยู่ในฐานะของเครื่องมือในการช่วงชิงพื้นที่ทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ ทั้งในรูปแบบตรงไปตรงมาในลักษณะของภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ และโดยอ้อมในรูปแบบของการให้ความรู้และการส่งเสริมกิจกรรมทางศิลปะในกลุ่ม นักศึกษา ปัญญาชนและศิลปิน นอกจากนี้ยังพบการผลิตผลงานภาพยนตร์สั้นในกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ยุคที่สอง ยุคของการใช้ภาพยนตร์สั้นในฐานะของเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2521 อันเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญที่มีศูนย์กลางความเคลื่อนไหวอยู่ในกลุ่มนักศึกษา ปัญญาชน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้เข้ามาใช้สื่อภาพยนตร์ในการสะท้อนภาพชีวิตของชนชั้นล่างที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมนายทุนและรัฐ ยุคที่สาม ยุคของการบ่มเพาะและแสวงหารูปแบบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522- พ.ศ. 2539 ยุคที่ภาพยนตร์สั้นถูกตระหนักในฐานะของงานศิลปะมากยิ่งขึ้นกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา ศูนย์วัฒนธรรมจากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน (เกอเธ่) ได้กลายเป็นแหล่งในการบ่มเพาะและให้ความรู้แก่กลุ่มบุคคลที่สนใจในศาสตร์ภาพยนตร์ซึ่งในเวลาต่อมากลุ่มบุคคลเหล่านี้ล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีบทบาทในกระบวนการเคลื่อนไหวของภาพยนตร์ในสังคมไทยในส่วนต่าง ๆ และส่วนหนึ่งเป็นผู้กำกับที่ยังผลิตผลงานอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน เนื้อหาและรูปแบบของภาพยนตร์สั้น ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์สั้นในปัจจุบัน อันเนื่องมากจากปริมาณภาพยนตร์สั้นที่ถูกผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันของมูลนิธิหนังไทยในความพยายามในการพัฒนาฐานะของภาพยนตร์ในสังคมไทย ความเฟื่องฟูดังกล่าวยังสอดคล้องกับสภาพสังคมข่าวสารที่ผู้คนในสังคมดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางสื่อด้านภาพและเสียงและกระแสวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความเป็นปัจเจกชนนิยมที่ส่งเสริมการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนเนื้อหาและรูปแบบอันหลากหลายของ ภาพยนตร์สั้นในช่วงเวลานี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยในหลายๆ ด้าน ทั้งวัฒนธรรม อุดมการณ์ของผู้คนร่วมสมัย รวมไปถึงการก้าวเข้าสู่ความเป็นสังคมยุคหลังสมัยใหม่ที่สะท้อนผ่านรูปแบบและลีลาทางศิลปะภาพยนตร์ความหลากหลายดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นฐานะอันหลากหลายของภาพยนตร์สั้นที่เป็นทั้งงานศิลปะที่ผู้สร้างขึ้นใช้ในการปลดปล่อยความเป็นตัวตน และเครื่องมือในการต่อสู้และช่วงชิงทางอุดมการณ์ของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมโดยเฉพาะคนกลุ่มน้อยในสังคมที่แปลกแยกออกไป พัฒนาการของภาพยนตร์สั้นตลอดเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมาได้สะท้อนถึงฐานะอันหลากลหายของภาพยนตร์สั้นในสังคมไทยที่ปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละบริบทของสังคมที่ต่างยุคสมัยทั้งสื่อเพื่อสร้างความบันเทิง, เครื่องมือในการต่อสู้ทางอุดมการณ์และวัฒนธรรม, งานศิลปะในการปลดปล่อยความเป็นตัวตน และบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมในด้านต่าง ๆ |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ได้รับการสนับสนุนกองทุนเพื่อการวิจัย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ภาพยนตร์ |
en_US |
dc.subject |
ภาพยนตร์ -- ไทย |
en_US |
dc.title |
ภาพยนตร์สั้นไทย |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |