Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีขากรรไกรล่างยื่นมีความผิดปกติในการออกเสียงพยัญชนะไทยมากน้อยอย่างไร โดยทดสอบเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม กลุ่มละ 40 คนแบ่งเป็นกลุ่มผู้ที่มีขากรรไกรล่างย่าน (ชาย 21 คน หญิง 19 คน) และกลุ่มผู้ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรบน-ล่างปกติ (ชาย 20 คน หญิง 20 คน) บันทึกเสียงการอ่านแบบทดสอบการออกเสียงพยัญชนะภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะต้นเดี่ยว พยัญชนะต้นควบ และพยัญชนะสะกด พร้อมกับบันทึกเสียงพูดในขณะสัมภาษณ์ตัวอย่างแต่ละคน ข้อมูลได้จากการวิเคราะห์เสียงจากแถบบันทึกเสียงโดยไม่ทราบว่าเสียงที่ฟังเป็นของกลุ่มตัวอย่างใด และบันทึกผลเฉพาะคำที่ผู้ฟังมีความเห็นตรงกันอย่างน้อยสองในสาม พบว่ากลุ่มผู้ที่มีขากรรไกรล่างยื่นสามารถออกเสียงพยัญชนะไทยส่วนใหญ่ได้ถูกต้อง ยกเว้นหน่วยเสียง/และเสียพยัญชนะกล้ำ ซึ่งมีผู้ออกเสียงไม่ถูกต้องสูงกว่ากลุ่มผู้ที่มีความสัมพันธ์ของขากรรไกรบน-ล่างปกติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และความรุนแรงของการออกเสียงไม่ถูกต้องมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของระยะสบไขว้ในแนวราบอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยที่ตัวอย่างแต่ละคนมีความรุนแรงในการออกเสียงผิดปกติแตกต่างกัน ดังนั้นในการแก้ไขภาวะขากรรไกรล่างยื่นจึงควรประเมินการออกเสียงพูดร่วมด้วยในผู้ป่วยแต่ละราย และบางรายอาจต้องได้รับการแก้ไขการพูดร่วมด้วย