DSpace Repository

โครงการระบอบการเมือง การจัดการบ้านเมืองที่ดีและการเติบโตของการกระจายทรัพยากรในมุมมองเปรียบเทียบ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.author ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-11-27T07:13:27Z
dc.date.available 2023-11-27T07:13:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83765
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายผลกระทบของสถาบันทางการเมืองการปกครองต่อระดับการพัฒนาสังคม 2) เพื่อวิเคราะห์และอธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางการเมืองการปกครองต่อขนาดการเปลี่ยนแปลงของระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 3) เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะและวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ ผู้วิจัยได้สำรวจทฤษฎีทางเศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยการกระจายทรัพยากรสาธารณะท่ามกลางบริบททางการเมือง ซึ่งพบว่าการเมืองแบบประชาธิปไตยทำให้เกิดการขยายตัวของการกระจายทรัพยากรสาธารณะ เนื่องจากแรงจูงใจของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนการช่วยเหลือในด้านสังคม ส่วนผู้นำทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมีแรงจูงใจทางการเลือกตั้งในการกำหนดนโยบายที่จะกระจายทรัพยากรไปยังสังคมผ่านนโยบายทางสังคม เช่น สาธารณสุข การศึกษาหรือประกันสังคม ผลการศึกษาพบว่า การเมืองแบบประชาธิปไตยมีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายด้านสาธารณสุขและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายด้านสาธารณสุขและประกันสังคม สุดท้าย การจัดการบ้านเมืองที่ดีซึ่งได้แก่ประสิทธิผลในการจัดการภาครัฐมีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายด้านประกันสังคม ส่วนการบังคับใช้นโยบายและกฎหมายอย่างจริงจังมีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to 1) analyze and explain the impact of political institutions on social development 2) analyze and explain the impact magnitude of political institutions on social development and 3) use in public policy and political methodology class The researcher reviews political economics theories on resource distribution given political regime types. They find that political democracy contributes to the expansion of resource distribution in social policies. Electorate has an incentive to elect ones who propose to distribute more resources and assistance. Meanwhile, elected incumbents have political and electoral incentive to promise policies that distribute more resources to social policies. The results show that political democracy has an impact on expansion of government expenditure on public health and basic education. Economic growth has a positive impact on expansion of public health and social security program expenditure. Finally, government effectiveness has an impact on expansion of social security program expenditure while rule of law has an impact on basic education expenditure. en_US
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุมศึกษา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สัญญาเลขที่ MRG5980196 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การเมือง en_US
dc.subject สถาบันการเมือง en_US
dc.subject การพัฒนาสังคม en_US
dc.title โครงการระบอบการเมือง การจัดการบ้านเมืองที่ดีและการเติบโตของการกระจายทรัพยากรในมุมมองเปรียบเทียบ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ en_US
dc.title.alternative Political regime, governance, and resource distribution in comparative perspectives en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record