Abstract:
การศึกษาสัตว์ขาปล้องที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนได้ดำเนินการศึกษาโดยดำเนินการศึกษาโดยการใช้กรงในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางนาในสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน และการศึกษาระบบการปลูกถั่วฝักยาว ซึ่งดำเนินการในแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยใช้การจับด้วยมือ เครื่องดูดแมลงและการใช้ beating sheet สัตว์ขาปล้องที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรที่มีบทบาทสำคัญในทั้งสองระบบการศึกษาคือผู้ล่าในกลุ่มแมงมุม โดยเฉพาะในวงศ์ Salticidae และ Oxyopidae ในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางนามีแมลงศัตรูพืชหลักคือด้วงงวงม้วนใบ Apoderous notatus และผู้ล่าในกลุ่มตั๊กแตนตำข้าวและมวนเพชฌฆาตได้รับผลเชิงลบอย่างชัดเจนจากการล่าโดยนกและค้างคาว ในแปลงปลูกถั่วฝักยาวมีแมงมุมในวงศ์ Oxyopidae เป็นกลุ่มเด่นที่พบและมีแมลงศัตรูพืชหลักเป็นเพลี้ยอ่อนถั่ว Aphis craccivora การศึกษาด้านพลวัตรประชากรของกลุ่มสัตว์ขาปล้องผู้ล่าเหล่านี้กับปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพจะช่วยในการเข้าในในการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนแมลงที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ต่อไป