Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาการกระจาย คุณลักษณะทางพันธุกรรมและความไวรับต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ที่พบในสุกรและผู้เลี้ยงสุกรในเขตภาคกลางของประเทศไทย ผลการศึกษาพบความชุกเชื้อ MRSA รอยละ 9.72 (59 จาก 607 ตัวอย่าง) จากตัวอย่างจากเยื่อบุช่องจมูกสุกร พบความชุกฝูงร้อยละ 37.02 (10 จาก 27 ฟาร์ม) และพบความชุกในผู้เลี้ยงสุกร ร้อยละ 7.83 (3 จาก 38 คน) เชื้อ MRSA จำนวนทั้งหมด 63 เชื้อมี staphylococcal cassette chromosome mec (SCCmec) V (41 เชื้อ) SCCmec IX (9 เชื้อ) SCCmec composite island ชนิดใหม่ (12 เชื้อ) และ SCCmec ที่จำแนกไม่ได้ (1 เชื้อ) โดย SCCmec IX พบใน MRSA-ST9-t337, MRSA-ST398-t034 และ MRSA=ST4576-t034 ซึ่งเป็น ST ใหม่ที่เปลี่ยน 1 ตำแหน่งนิวคลีโอไทด์ของ ST9 ส่วน SCCmec รูปแบบอื่นๆ พบใน MRSA-ST398-t034 เท่านั้น ยกเว้น 1 เชื้อที่ไม่พบยีน spa เชื้อ MRSA ทุกเชื้อที่พบแสดงการดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิดและมียีนดื้อยาต้านจุลชีพที่พบได้บ่อยในสายพันธุ์ที่แยกได้จากปศุสัตว์ ได้แก่ Isa€, Inu(B), cfr, fexA, vga(A) และ spw จากคุณลักษณะทางพันธุกรรมและรูปแบบลายพิมพ์นิ้วมือ DNA แสดงหลักฐานการส่งผ่านเชื้อระหว่างสุกรและมนุษย์และการแพร่กระจายในห่วงโซ่การผลิตสุกร การศึกษานี้เป็นรายงานแรกที่พบ MRSA ST398 ในฝูงสุกรและผู้เลี้ยง และยีนดื้อยา cfr ใน MRSA-ST9 ในประเทศไทย คุณลักษณะทางพันธุกรรมแยกย่อยและยีนดื้อยาที่แตกต่างกันแสดงถึงกลุ่มประชากรเชื้อ MRSA ที่หลากลายและวิวัฒนาการของเชื้อที่กระจายในเขตภาคกลางของประเทศ การตรวจติดตามและการจัดการฟาร์มร่วมกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลมีความจำเป็นในการลดการอุบัติและแพร่กระจาย เช่นเดียวกันการรักษาสุขศาสตร์และการป้องกันตนเองของบุคลากรเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันการได้รับเชื้อจากปศุสัตว์