DSpace Repository

การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการกลั่นแอลกอฮอล์ที่ได้จากกระบวนการหมัก เพื่อนำมาทำเป็นสารเพิ่มค่าออกเทนสำหรับน้ำมันเบนซิน

Show simple item record

dc.contributor.author สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-10-30T07:10:47Z
dc.date.available 2008-10-30T07:10:47Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8389
dc.description โครงการวิจัย ; เลขที่ 69G-CHEM-2547 en
dc.description.abstract รายงานฉบับนี้เป็นรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยครั้งที่สองของโครงการการนำผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการกลั่นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักเพื่อนำมาทำเป็นสารเพิ่มค่าออกเทนสำหรับน้ำมันเบนซิน รายงานฉบับนี้ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรกเกี่ยวข้องกับการเลือกตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมเปรียบเทียบกันในการผลิตสารประกอบ เทอร์เชียรี่ เอมิว เอทิล อีเทอร์ (Tertiary Amyl Ethyl Ether, TAEE) โดยตรงจากสารประกอบเทอร์เชียรี่ เอมิว แอลกอฮอล์ (Tertiary amyl alcohol, TAA) ทำปฏิกิริยากับเอทานอล (EtOH) ในสภาวะที่เป็นของเหลว ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้เปรียบเทียบ ได้แก่ แอมเบอร์ลิสท์ 15 (Amberlyst 15) แอมเบอร์ลิสท์ 16 (Amberlyst 16) แอมเบอร์ลิสท์ 36 (Amberlyst 36) แอมเบอร์ลิสท์ 131 (Amberlyst 131) โดแวกซ์ 50WX8 (Dowex) และเบต้าซีโอไลท์ ([beta]-zeolite) ที่มีสัดส่วนของซิลิกาต่ออะลูมินาเท่ากับ 13.5 และ 40 ที่อยู่ในรูปของโปรตอนไอออน โดยทำปฏิกิริยากันในเครื่องปฏิกรณ์แบบกะที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ความดัน 0.8 เมกะปาสคาล ใช้ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 2 กรัม ต่อสารละลาย 100 มิลลิลิตร ในส่วนที่สองเป็นการจำลองการสังเคราะห์ TAEE ในหอกลั่นแบบมีปฏิกิริยาซึ่งเป็นหอกลั่นที่ได้รวมเอาทั้งส่วนของการเกิดปฏิกิริยาและส่วนของการกลั้นเข้าไว้ด้วยกันโดยใช้โปรแกรมแอสเพนพลัส (Aspen Plus) โดยในส่วนของการจำลองนั้นจะใช้ค่าพารามิเตอร์ทางจลศาสตร์ของปฏิกิริยาอีเทอริฟิเคชัน (Etherification) ระหว่าง TAA และ EtOH จากงานวิจัยของ Aiouache และ Goto [5] โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นแอมเบอร์ลิสท์ 15 การจำลองนี้ทำเพื่อศึกษาถึงผลของค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่มีผลต่อสมรรถนะของหอกลั่นแบบมีปฏิกิริยาโดยพารามิเตอร์ที่ศึกษาได้แก่จำนวนชั้นของหอกลั่น ตำแหน่งของสายป้อน จำนวนชั้นของการเกิดปฏิกิริยา อัตราส่วนการป้อนกลับ ค่าความร้อนที่ป้อนเข้าสู่หอกลั่น เป็นต้น ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในการเลือกภาวะการทดลองที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาที่จะดำเนินการต่อไป en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปี 2547 en
dc.format.extent 5052266 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ของเสียทางการเกษตร -- การนำกลับมาใช้ใหม่
dc.subject แอลกอฮอล์ -- การกลั่น
dc.subject เบนซิน
dc.subject การหมัก
dc.subject ค่าออกเทน
dc.title การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการกลั่นแอลกอฮอล์ที่ได้จากกระบวนการหมัก เพื่อนำมาทำเป็นสารเพิ่มค่าออกเทนสำหรับน้ำมันเบนซิน en
dc.title.alternative Utilization of by-products from fermentation alcohol distillation process for production of octane enhancer for [gasoline] fuel en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Suttichai.A@eng.chula.ac.th, sas@linde.che.chula.edu


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record