dc.contributor.advisor |
นรลักขณ์ เอื้อกิจ |
|
dc.contributor.author |
ศราวุธิ ปลอดฤทธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T03:04:59Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T03:04:59Z |
|
dc.date.issued |
2566 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83986 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการตัดสินใจในการ มารับการรักษาและปัจจัยทำนายระยะเวลาการตัดสินใจในการมารับการรักษาของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment ไม่ยก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment ไม่ยก เพศชายและหญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม และหอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ โรงพยาบาลสระบุรี และโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 100 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ในการใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและการเจ็บป่วย 2) แบบสอบถามภาวะโรคร่วม 3) แบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วย 4) แบบสอบถามความวิตกกังวล และ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาในชุดที่ 2 – 5 เท่ากับ 0.95, 1.00, 0.75, และ 1.00 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.84, 0.87, 0.85, และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า 1. ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจในการมารับการรักษาของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment ไม่ยก มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 90 นาที ( x = 122.35, SD = 102.86) 2. ปัจจัยทำนายระยะเวลาการตัดสินใจในการมารับการรักษาของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment ไม่ยก ได้สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้ความเจ็บป่วย (β = -.294, p < .01) รองลงมาคือ ความวิตกกังวล (β = -.237, p < .05) ภาวะโรคร่วม (β = .229, p < .05) การสนับสนุนทางสังคม (β = -.207, p < .05) การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (β = .125, p < .05) และประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (β = .117, p < .05) ตามลำดับ โดยปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัย สามารถร่วมทำนายระยะเวลาการตัดสินใจ ในการมารับการรักษาของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment ไม่ยก ได้ร้อยละ 75.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Adjusted R2 = .757, p < .05) |
|
dc.description.abstractalternative |
The predictive correlational study aims to study the decision-making time and the factors predicting decision-making time among acute myocardial infarction patients with non-ST segment elevation myocardial infarction. One hundred patients with non-ST segment elevation myocardial infarction, both males and females, over 40 years old from the general medical ward, medical intensive care unit and cardiac intensive care unit at Saraburi Hospital and Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital were recruited using a multistage sampling technique. The instruments are composed of 1) Demographic data form and Illness Questionnaire 2) Comorbidity Questionnaire 3) Illness Perception Questionnaire 4) Anxiety Questionnaire and 5) Social Support Questionnaire. The CVI of 2 - 5 instruments were 0.95, 1.00, 0.75, and 1.00, respectively. The Cronbach's alpha coefficient were 0.84, 0.87, 0.85, and 0.91, respectively. The data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression.
The results revealed as the following: 1) The median decision-making time for patients with non-ST-segment acute myocardial infarction was 90 minutes from onset ( x = 122.35, SD = 102.86) 2) The factor that could predict decision-making time for patients with non-ST-segment acute myocardial infarction with the highest statistical significance was illness perception (β = -.294 , p < .01), followed by anxiety (β = -.237, p < .05), comorbid (β = .229, p < .05), social support (β = -.207, p < .05), use of emergency medical services (β = .125, p < .05) and hospitalization experience with acute myocardial infarction (β = .117, p < .05), respectively. These factors accounted for 75.70% of the variance in the decision-making time for patients with non-ST segment elevation myocardial infarction (Adjusted R2 = .757, p < .05). |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Nursing |
|
dc.subject.classification |
Human health and social work activities |
|
dc.subject.classification |
Nursing and caring |
|
dc.title |
ปัจจัยทำนายระยะเวลาการตัดสินใจในการมารับการรักษาของผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment ไม่ยก |
|
dc.title.alternative |
Factors predicting decision-making time to seek treatment among acute myocardial infarction patients with non-ST segment elevation myocardial infarction |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|