Abstract:
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวที่เน้นการมีส่วนร่วมในการดูแล และเพื่อเปรียบเทียบอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าและครอบครัวที่มารับบริการในแผนกยาเสพติดและจิตเวชของโรงพยาบาลองครักษ์ จำนวน 40 ครอบครัว จับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้วยอายุและคะแนนอาการซึมเศร้า สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวที่เน้นการมีส่วนร่วมในการดูแล 2) แบบประเมินอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย เครื่องมือทุกชุดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ความเที่ยงของเครื่องมือโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า
1) ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวที่เน้นการมีส่วนร่วมในการดูแลน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=13.13, df=19, p