DSpace Repository

กลวิธีในการบรรเลงซออู้ในการแสดงหุ่นกระบอก เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนนางวันทองห้ามทัพของคณะหุ่นกระบอกเพาะช่าง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ขำคม พรประสิทธิ์
dc.contributor.author สุทธิดา พุทธรักษา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T03:10:42Z
dc.date.available 2024-02-05T03:10:42Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83991
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่องกลวิธีในการบรรเลงซออู้ในการแสดงหุ่นกระบอก เรื่องขุนช้างขุนแผน  ตอนนางวันทองห้ามทัพ ของคณะหุ่นกระบอกเพาะช่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและมูลบทที่เกี่ยวข้องกับคณะหุ่นกระบอกเพาะช่าง เพื่อศึกษาหลักและกลวิธีการบรรเลงและทำนองซออู้ ผลการศึกษาพบว่า การแสดงหุ่นกระบอกเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้รับความนิยมเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ.2541 เกิดคณะหุ่นกระบอกเพาะช่างขึ้น ริเริ่มโดย ครูสุขสันต์ พ่วงกลัด ซึ่ง ครูชื้น สกุลแก้ว เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ที่ชัดเจนทั้งเรื่องของดนตรีประกอบการแสดงที่มีซออู้บรรเลงร่วมกับวงปี่พาทย์จึงเกิดหลักการบรรเลง คือ 1) เทียบเสียงซออู้ให้เสียงสูงกว่าปี่พาทย์ 1 เสียง เพื่อสะดวกต่อการสีทำนองหุ่นกระบอก 2) สีลดเสียง 1 เสียงในเพลงที่บรรเลงร่วมกับวงปี่พาทย์ พบกลวิธีบรรเลงซออู้ทั้งหมด 11 กลวิธี ได้แก่ พรมปิด พรมเปิด การเกลื่อน สะบัด สะบัดเสียงเดียว ครั่น กระทบเสียง สีนิ้วชิด การประ การสะบัดเน้นเสียงแรกและการสียักเยื้อง ทำนองซออู้ที่ใช้กับการแสดงหุ่นจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ ทำนองหุ่นกระบอก ทำนองในเพลงหน้าพาทย์ ทำนองเพลงเกร็ด และทำนองเพลงร้องสองชั้น
dc.description.abstractalternative This study aims to investigate the background and fundamental information that are related to Poh-Chang Puppet Theater. The thesis also aims to study performance principles and of Saw-U. The finding reveals that puppet performance was created during the reign of King Rama V and had been popular from then. Until 1998 ,the Poh-Chang Puppet performance group was established, initiated by Suksan Puangklad, and supervised by Chuen Sakunkaew. The knowledge was passed along, and its unique identity was created. Saw-U was included into Wong Piphat (The Thai Classical Orchestra), therefore its principles of playing are 1) Must adjust  tuning of Saw-U, which is one level higher than Piphat . This tuning allows more convenience in puppet performance 2) and it decreases one pitch lower when it was performed with The Piphat ensemble. Eleven playing techniques were found in the songs including Phrom Pid, Phrom Perd, The Kluen, Sabud Siang Diaw, Khran, Kratob Siang, See Niw Chid, Pra, Sabud Nen Siang Raek and See Yak Yueng The rhythms of Saw-U used in puppet performance can be divided into 4 types; phleng hoon krabok, sacred repertoire, miscellaneous pieces, and singing secular pieces in moderate and fast tempo.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.subject.classification Arts, entertainment and recreation
dc.subject.classification Music and performing arts
dc.title กลวิธีในการบรรเลงซออู้ในการแสดงหุ่นกระบอก เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนนางวันทองห้ามทัพของคณะหุ่นกระบอกเพาะช่าง
dc.title.alternative Saw-u performance techniques for Poh-Chang puppet theater music accompaniment to episode of Nang Wan Thong Haam Thub form Khun Chang Khun Pan
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record