DSpace Repository

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ในเรื่องการปรากฏของความไม่มีอยู่จริงในสังคมไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor นราพงษ์ จรัสศรี
dc.contributor.author วรวรรณ ปิ่นรัตนากร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T03:10:43Z
dc.date.available 2024-02-05T03:10:43Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83993
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการปรากฏของความไม่มีอยู่จริงในสังคมไทยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การทดลอง และวิจัยสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะการแสดง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และเกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการปรากฏของความไม่มีอยู่จริงในสังคมไทยมีรูปแบบในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ทั้งสิ้น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง ออกแบบบทการแสดงจากประเด็นที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย แบ่งออกเป็น 3 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ที่ 1 การเกิดปัญหา (Problems Arising) องก์ที่ 2 การแก้ไขปัญหา (Problem Solving) องก์ที่ 3 การหยั่งรู้ (Discernment) 2) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลาการเคลื่อนไหวแบบนาฏยศิลป์สมัยใหม่ (Modern Dance) การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) และ บัลเล่ต์ (Ballet)  3) นักแสดง ใช้การคัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะการแสดงที่หลากหลายรวมทั้งรูปร่าง สีผิว เพศ 4) เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า ใช้เครื่องแต่งกายที่เรียบง่ายแบบมินิมอลลิสม์ (Minimalism) และการแต่งหน้าแบบในชีวิตประจำวัน 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ออกแบบโดยคำนึงถึงบทการแสดง ความหมาย และความเชื่อของการแสดงในแต่ละองก์ 6) เสียงและดนตรีประกอบการ ใช้รูปแบบการประพันธ์ดนตรีโดยการสังเคราะห์เสียง (Synthesis Music) ร่วมกับเสียงที่บันทึกจากสถานที่ต่าง ๆ 7) ฉากและพื้นที่การแสดง ออกแบบพื้นที่การแสดงเพื่อสร้างสรรค์ผลงานแบบศิลปะเฉพาะที่ (Site-specific Arts) 8) แสง ใช้แสงธรรมชาติในพื้นที่แบบศิลปะเฉพาะที่ (Site-specific Arts) และคัดเลือกช่วงเวลาของแสงให้สัมพันธ์กับบทการแสดง นอกจากนี้พบว่ามีแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการปรากฏของความไม่มีอยู่จริงในสังคมไทย 5 ประการ ได้แก่ 1) การปรากฏของความไม่มีอยู่จริงในสังคมไทย 2) แนวคิดทางด้านมานุษยวิทยา 3) แนวคิดและทฤษฎีทางด้านทัศนศิลป์ นาฏยศิลป์ และดุริยางคศิลป์ 4) การใช้สัญลักษณ์ในผลงานนาฏยศิลป์ 5) ความคิดสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ
dc.description.abstractalternative The research objective is to study the styles and concepts obtained after the creation of dance from the appearance of non-existence in Thai society using qualitative research, experimentation, and creative research in performing arts. The research tools consist of surveying documentary data, interviews, information media, observation, the researcher's personal experiences and standardization criteria of artists. Bring the data to examine, analyze, synthesize and create the dance according to the specified process. The result shows that the style of the creation of a dance from the appearance of non-existence in Thai society consists of 8 elements in the performance which are 1) Script: based on issues that occur in Thai society and divided into 3 acts, consisting of Act 1 Problems Arising, Act 2 Problem Solving, Act 3 Discernment. 2) Movements: using movement styles of modern dance, everyday movement and ballet. 3) Casting: use the selection of actors with diverse performing arts skills along with body shape, skin color, and gender. 4) Costume and makeup: using simple costumes according to the concept of minimalism and everyday makeup. 5) Show props: the script, meaning, and beliefs of each act were taken into account in the design. 6) Sound and music: Use the form of music composition by synthesizing sounds together with sounds recorded from various locations. 7) Scene and stage: designing scenes and stages in accordance with the site-specific arts concept. 8) Lighting: using natural light in site-specific arts area and select the lighting time to be relevant to the performance script. In addition, it was found that there were 5 concepts obtained after the creation of dance from the appearance of non-existence in Thai society which are 1) the appearance of non-existence in Thai society 2) Anthropological concepts 3) Concepts and theories in visual arts, dance and music 4) The usage of symbols in dance 5) The creativity in dance. The results of this research are consistent and meet the research objectives in all respects.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.subject.classification Arts, entertainment and recreation
dc.subject.classification Music and performing arts
dc.title การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ในเรื่องการปรากฏของความไม่มีอยู่จริงในสังคมไทย
dc.title.alternative The creation of dance from the appearance of nonexistence in Thai society
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ศิลปกรรมศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record