dc.contributor.advisor |
คัคนางค์ มณีศรี |
|
dc.contributor.author |
กันยารัตน์ สอาดเย็น |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2008-11-06T06:25:58Z |
|
dc.date.available |
2008-11-06T06:25:58Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8401 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบอิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง ลักษณะของเป้าหมายและความท้าทายของงานต่อแรงจูงใจในกิจกรรมและผลงาน ผู้ร่วมการทดลองเป็นนิสิตที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีจำนวน 160 คน ซึ่งถูกจำแนกออกเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงหรือผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำ และถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งใน 8 เงื่อนไข คือ บุคลิกภาพแบบหลงตนเอง (บุคคลที่หลงตนเองสูงหรือบุคคลที่หลงตนเองต่ำ) เป้าหมาย (เป้าหมายมุ่งแสดงความสามารถหรือเป้าหมายมุ่งเรียนรู้) และความท้าทายของงาน (งานที่มีความท้าทายสูงหรืองานที่มีความท้าทายต่ำ) ผู้ร่วมการทดลองต้องทำงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบวัดความถนัดและแบบวัดสติปัญญา จากนั้นประเมินระดับแรงจูงใจในกิจกรรมของตนเอง ผลการวิจัย พบว่า 1. สำหรับผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูง เงื่อนไขเป้าหมายมุ่งแสดงความสามารถทำให้เกิดแรงจูงใจในกิจกรรมสูงกว่าและทำผลงานได้ดีกว่าเงื่อนไขเป้าหมายมุ่งเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ 2. สำหรับผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำ เป้าหมายมุ่งแสดงความสามารถทำให้เกิดแรงจูงใจในกิจกรรมและผลงานไม่แตกต่างจากเป้าหมายมุ่งเรียนรู้ 3. เป้าหมายมุ่งแสดงความสามารถ ทำให้ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงมีแรงจูงใจในกิจกรรมและผลงานสูงกว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่เป้าหมายมุ่งเรียนรู้ไม่ทำให้ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงมีแรงจูงใจในกิจกรรมและผลงานแตกต่างจากผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำ 4. เมื่อเป้าหมายมุ่งแสดงความสามารถ ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงมีแรงจูงใจในกิจกรรมและผลงาน เมื่อทำงานที่มีความท้าทายสูงมากกว่าเมื่อทำงานที่มีความท้าทายต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 ตามลำดับ ในขณะที่ความท้าทายของงานไม่ทำให้ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำมีแรงจูงใจในกิจกรรมและผลงานแตกต่างกัน |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was to examine the effects of the narcissistic personality, achievement goal orientation, and task challenge on intrinsic motivation and performance. One hundred and sixty undergraduate students were classified as high or low narcissists and then were rendomly assigned to one of eight experimental conditions: narcissism (high vs. low), goal orientation (performance va. mastery), and task challenge (high vs. low). Participants worked on the task similar to the aptitude and intelligence tests and were assessed their levels of intrinsic motivation. Results show that: 1. High narcissists have higher level of intrinsic motivation and perform better in performance goal condition than in mastery goal condition (p<.01 and .05, consecutively). 2. There are no significant differences in intrinsic motivation and performance for low narcissists working in performance goal and mastery goal. 3. Performance goals enhance intrinsic motivation and performance for high narcissists than for low narcissists (p<.01), whereas mastery goals do not make any significant differences between high and low narcissists. 4. High narcissists experience higher intrinsic motivation (p<.01) and perform better (p<.001) in the performance goal condition when ther task is challenging than when it is not, whereas the challenge of the task do not make any differences for low narcissists. |
en |
dc.format.extent |
1237465 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1364 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การหลงตนเอง |
en |
dc.subject |
แรงจูงใจภายใน |
en |
dc.subject |
บุคลิกภาพ |
en |
dc.title |
อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง ลักษณะของเป้าหมายและความท้าทายของงานต่อแรงจูงใจในกิจกรรมและผลงาน |
en |
dc.title.alternative |
Effects of narcissism, goal orientation, and task challenge on intrinsic motivation and performance |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาสังคม |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
kakanang.m@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2006.1364 |
|