dc.contributor.advisor |
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี |
|
dc.contributor.advisor |
ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์ |
|
dc.contributor.author |
กัณฐรัชญ์ จันรุ่งเรือง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T06:19:29Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T06:19:29Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84087 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอนเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก ที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 กับโรคความดันโลหิตสูง แต่มีข้อมูลน้อยมากในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 รายปีกับระดับความดันโลหิต และความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในกำลังพลกองทัพบก โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Multilevel Generalized linear model และ Multilevel binary logistic regression model โดยมีกำลังพลทหารจำนวนทั้งสิ้น 89,641 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบความชุกโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 23.1 และพบว่าปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 รายปี มีความสัมพันธ์กับความชุกของโรคความดันโลหิตสูงและระดับความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อควบคุมลักษณะของประชากร พฤติกรรมสุขภาพ สารมลพิษอื่น และลักษณะทางอุตุนิยมวิทยา โดยไม่พบการตอบสนองต่อปริมาณที่ชัดเจน ซึ่งระดับฝุ่นละออง PM2.5 รายปีที่
ควอไทล์ที่ 4 สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความชุกของโรคความดันโลหิตสูง (OR 1.44, 95% CI = 1.20-1.72) และระดับความดันซิสโตลิก (ß 1.05 mmHg, 95% CI = 0.33-1.77) มากที่สุด และระดับฝุ่นละออง PM2.5 รายปีที่ควอไทล์ที่ 2 สัมพันธ์การเพิ่มขึ้นของระดับความดันไดแอสโตลิก (ß 0.80 mmHg, 95% CI = 0.43-1.18) มากที่สุด โดยสรุป การศึกษานี้เพิ่มหลักฐานสนับสนุนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 ระยะยาวกับการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตและการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในกำลังพลกองทัพบกไทย |
|
dc.description.abstractalternative |
Fine particulate matter is a major environmental problem affecting the health of populations around the world. In the past, there have been studies on the effects of fine particulate matter or PM2.5 exposure on hypertension but few in Southeast Asia. The objective of this study was to determine the relationship between annual PM2.5 with blood pressure and the hypertension among Thai Army personnel. Data was analyzed by Multilevel Generalized linear model and Multilevel binary logistic regression model. Totally 89,641 military personnel were included in the analysis. Result showed that the prevalence of hypertension was 23.1%. Up on adjustment for age, sex, health behaviors, other air pollutants and meteorological characteristics, annual PM2.5 was statistical significantly associated with the prevalence of hypertension and blood pressure levels with no doseresponse pattern. Annual PM2.5 levels at the 4th quartile were associated with the greatest increase in the prevalence of hypertension (OR 1.44, 95% CI = 1.20-1.72) and systolic blood pressure (ß 1.05 mmHg, 95% CI = 0.33-1.77), and annual PM2.5 levels at the 2nd quartile were associated with the greatest increase in diastolic blood pressure (ß 0.80 mmHg, 95% CI = 0.43-1.18). In conclusion, this study providing supporting evidence on the association of long-term exposure to PM2.5 with increased blood pressure and hypertension among Thai Army personnel. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.subject.classification |
Human health and social work activities |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนรายปีกับระดับความดันโลหิตและโรคความดันโลหิตสูงในกำลังพลกองทัพบก กองทัพบกไทย |
|
dc.title.alternative |
Association of the annual fine particulate matter (PM2.5) levelwith blood pressure and hypertension among the Royal Thai Army personnel. |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|