DSpace Repository

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วนของวัยรุ่นหญิงตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
dc.contributor.author ปวีณา ยุกตานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2008-11-06T10:10:09Z
dc.date.available 2008-11-06T10:10:09Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8412
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วนของวัยรุ่นหญิง ตอนปลายที่มีอายุระหว่าง 18-21 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนทั้งสิ้น 416 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีพฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วน จำนวน 210 คน และกลุ่มที่ไม่มี พฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วน จำนวน 206 คน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัด ความไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ (Mezzeo, 1999) แบบวัดอิทธิพลของสื่อ (Young, McFatter & Clopton, 2001) แบบวัดอิทธิพลกลุ่มเพื่อน (Young, McFatter & Clopton, 2001) แบบวัดอิทธิพลครอบครัว (Young, McFatter & Clopton, 2001) และแบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับยาลดความอ้วนซึ่งผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น ข้อมูลที่ได้รับ ถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้หลักสถิติการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ด้วยวิธีการ คัดเลือกตัวแปรเข้าสมการจำแนกกลุ่ม (Stepwise) โดยใช้ค่าสถิติทดสอบ วิคล์ส แลมดา (Wilks' Lambda) เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวแปรเข้าวิเคราะห์ ผลการวิจัยแสดงว่า มี 5 ปัจจัย ที่มีอำนาจจำแนกความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นหญิงตอนปลายที่มีและไม่มีพฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วน ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ความเชื่อในประสิทธิภาพของยาลดความอ้วน ความไม่พึงพอใจในรูปลักษณ์ อิทธิพลของสื่อ ความเชื่อใน ผลกระทบของยาลดความอ้วน และรายได้เฉลี่ยแต่ละเดือนของกลุ่มตัวอย่าง โดยทั้ง 5 ปัจจัย สามารถ จำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีความ ถูกต้องในการพยากรณ์อำนาจจำแนกรวมสูงร้อยละ 97.40 en
dc.description.abstractalternative The purpose of this research study was to examine factors related to diet pill usage in late-adolescent females. A total of four-hundred and sixteen females who were 18-21 years old participated in the study. Two-hundred and ten participants reported the use of diet pills while two-hundred and ten participants did not. Participants completed a set of six questionnaires: Personal Data Questionnaire, Body Image Dissatisfaction Scale (Mezzeo, 1999), Media Influence Scale (Young, McFatter & Clopton, 2001), Peer Influence Scale (Young, McFatter & Clopton, 2001), Family Influence Scale (Young, McFatter & Clopton, 2001) and Beliefs about Diet Fill Usage Scale (developed by researcher). Data obtained were analyzed using Discriminant Function Analysis with a stepwise method, and the Wilks' Lambda was examined to determine which factors helped predict diet pill usage in these participants. Findings indicated that five factors helped predict diet pill usage in late-adolescent females. These factors were: beliefs about the efficiency of diet pill usage, body image dissatisfaction, media Influence, belief about side effects of diet pill usage, and monthly income. These factors significantly predicted participants with and without diet pill usage and yielded the total predictive efficiency of 97.40 percents. en
dc.format.extent 1168187 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.981
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject จิตวิทยาวัยรุ่น en
dc.subject การลดความอ้วน en
dc.subject วัยรุ่นหญิง -- การใช้ยา en
dc.title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วนของวัยรุ่นหญิงตอนปลาย en
dc.title.alternative Selected factors related to diet pill usage in late-adolescent females en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาพัฒนาการ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Kullaya.D@chula.ac.th, Kullaya@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.981


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record