dc.contributor.advisor |
เปี่ยมสุข สนิท |
|
dc.contributor.author |
ปิยะนันท์ มณีเลิศ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T09:56:42Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T09:56:42Z |
|
dc.date.issued |
2566 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84166 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการรถรับส่งของคอนโดมิเนียมรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอ่อนนุช มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการรถรับส่งคอนโดมิเนียม วิเคราะห์การบริหารจัดการรถรับส่งและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการรถรับส่งคอนโดมิเนียม มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งรองสนับสนุนระบบขนส่งมวลชนทางราง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้บริการรถรับส่งคอนโดมิเนียมรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอ่อนนุช จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ วิธีการทดสอบไคสแควร์และการถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษา พบว่า บทบาทของรถรับส่งคอนโดมิเนียมเป็นการให้บริการเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนทางรางทำหน้าที่เป็น Feeder mode และ Community mode โดยคุณภาพการให้บริการเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญและมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้บริการรถรับส่งคอนโดมิเนียมทั้ง 3 กลุ่มราคา พบว่า ส่วนใหญ่ใช้บริการรถรับส่งคอนโดมิเนียมในการเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้าที่สถานีบีทีเอสอ่อนนุชเพื่อเดินทางไปทำงาน ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและช่วงเวลาเร่งด่วนเย็น ซึ่งผู้ใช้บริการในกลุ่มคอนโดมิเนียมราคาแพงมีการใช้บริการรถรับส่งฯ เป็นประจำมากที่สุด ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการรถรับส่งคอนโดมิเนียม ได้แก่ ตัวแปรวัตถุประสงค์การเดินทาง ระดับราคาคอนโดมิเนียม ช่วงเวลาที่ใช้บริการเที่ยวไป-เที่ยวกลับและวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อกลับที่พัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis has the objective of studying the travel behavior of condominium shuttle bus’s passengers around mass transit station (On Nut Station). Also, has the main objective of surveying travel behavior of condominium shuttle bus’s, studying its schedule management for passengers, and analyzing factors that affect the behavior of using condominium shuttle service. The action target expectation is to offer guidelines for feeder system development for supporting mass transit. This study is explorative research that records the data on the travel behavior of 100 users who use condominium shuttle bus’s service. With this analysis, questionnaires and interview forms are used as tools by using descriptive and reference statistics, such as the Chi-square test and Logistic regression.
The study found that the role of condominium shuttle service is as a feeder mode and community mode. Moreover, service quality plays a vital role in helping users decide to use the service and has the most effective impact on decision-making to use the condominium shuttle bus’s service. Plus, the travel behavior of condominium shuttle bus’s passengers for the 3 groups that have been classified found that most users some take condominium shuttle service before continuing to travel by BTS On Nut station for working in the morning and evening rush hours. Most condominium shuttle service usage is by the user who stays in the luxury condo. Then, the factors that affect the travel behavior of using condominium shuttle service found that the objective of using condominium shuttle service, the condo’s price variant, round trip duration variant, and the objective of the return trip to the resident affect the behavior of using condominium shuttle service, which is statistically significant at 0.05 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Economics |
|
dc.subject.classification |
Transportation and storage |
|
dc.title |
พฤติกรรมการใช้บริการรถรับส่งของคอนโดมิเนียมในพื้นที่โดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษา สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอ่อนนุช |
|
dc.title.alternative |
Travel behavior of condominium shuttle bus’s passenger around mass transit station : a case study of On Nut Station |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวางผังและออกแบบเมือง |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|