DSpace Repository

การเรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา
dc.contributor.author จารุวรรณ แก้วมะโน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T10:03:23Z
dc.date.available 2024-02-05T10:03:23Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84198
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาว่าอะไรเป็นเงื่อนปัจจัยที่ทำให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของไทยเกิดการเรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยได้แม้ภายใต้การกล่อมเกลาคุณค่าประชาธิปไตยแบบจำกัดของรัฐไทย กระทั่งนำมาสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2563 การวิจัยใช้การศึกษาเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2563 และครูผู้สอนรายวิชาหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดําเนินชีวิตในสังคม ผลการศึกษาพบว่านักเรียนคือตัวแสดงทางการเมืองที่มีการพิจารณาใคร่ครวญเปรียบเทียบต้นทุนประโยชน์และโทษที่จะได้รับจากการกระทำในสถานการณ์หนึ่งๆและแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดได้ จึงทำให้การแสดงออกไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับทัศนคติเสมอไป ซึ่งนั่นเป็นช่องว่างที่อาจนำไปสู่การเรียนรู้คุณค่าทางการเมืองที่แตกต่างออกไปจากการกล่อมเกลาที่เป็นอยู่ได้ ผลการศึกษาพบว่าการเรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยของนักเรียนไม่ได้เกิดจากอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตโดยลำพัง นักเรียนสามารถเรียนรู้ค่านิยมประชาธิปไตยที่แตกต่างไปจากค่านิยมที่รัฐกล่อมเกลาได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขทั้ง 3 ประการมาบรรจบกัน 1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายนอกของการศึกษาเรียนรู้ 2) การตื่นรู้ทางความคิดภายใน และ 3) มีคำอธิบายระหว่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณค่าประชาธิปไตยในลักษณะที่นักเรียนรับรู้ถึงประโยชน์ที่จับต้องได้ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นวงจรหมุนเวียนระหว่างช่วงของการตื่นรู้กับช่วงของการจำยอมทำตามอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้สองชั้นสืบเนื่องจากการปะทะกันของแนวคิดกับการปฏิบัติของปัจเจกบุคคลภายใต้โครงสร้างที่จำกัด
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study the factors that bring high school students to comprehend democratic values even under the limited political socialization of democracy of Thai state leading to the political movement in 2020. This thesis uses documentary research, interviews and focus group of high school students who came out to political movements in 2020 and teachers who taught civic education. The findings show that students are knowledgeable agents who are able to accumulate, analyze, and compare advantages and disadvantages of particular actions and then seek their best solution. Hence, the behavior is not always necessarily consistent with the attitude, and this is a gap that could lead students to learn the different political values from the existing political socialization. The study found that internet alone is not adequate to lead students to differently learn political values, but it needs 3 conditions come together :  1) Changing of external structure on education  2) Enlightening of thought.  3) Explaining the relation between the situation and democratic values in a way students perceive that could benefit them. However, political values learning of the students can be a cycle of enlightenment and compliance resulting from double learning of interaction between ideas and practices of individual under constrain of the structure.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Education
dc.subject.classification Political science and civics
dc.title การเรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternative Democratic values learning of secondary school student in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline รัฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record